LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา

usericon

รายงานผลการใช้ชุดฝึกพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลางสาด
ผู้ศึกษาค้นคว้า : นางสาวรอซีดะห์ แวนาเห็ง ตำแหน่งครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านลางสาด
บทคัดย่อ
    รายงานผลการใช้ชุดฝึกพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านลางสาด มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบ้านลางสาด จำนวน 18 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 3 เครื่องมือ คือ 1) แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 ข้อ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตาม มาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 22 แผน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่า E1/E2 ค่าดัชนีประสิทธิผล E.I. (Effectiveness Index)
    ผลการศึกษา พบว่า
        1) ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดฝึกพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ประสิทธิภาพของกระบวนการ ซึ่งประเมินจากกระบวนการเรียน โดยพิจารณาจากคะแนนของแบบทดสอบระหว่างการจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้ชุดฝึกพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ทั้ง 4 เล่ม ได้ประสิทธิภาพตัวแรก (E1) เท่ากับ 86.25 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ซึ่งเป็นการประเมินผลโดยน้าคะแนนจากการประเมินผลหลังเรียน ได้ประสิทธิภาพตัวหลัง (E2) เท่ากับ 86.11 ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าชุดฝึกพัฒนาทักษะการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ โดยได้เกณฑ์ประสิทธิภาพเท่ากับ 86.25/86.11 แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของชุดฝึกพัฒนาทักษะส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เกิดการเรียนรู้จริง เกิดทักษะกระบวนการและสามารถน้าไปใช้ปฏิบัติได้จริง
         2) ผลคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่ได้จากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ก่อนการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 12.83 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 42.78 และคะแนนเฉลี่ยที่ได้จากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด หลังการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 25.83 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.11 เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ก่อนการจัดการเรียนรู้ และหลังการจัดการเรียนรู้ พบว่ามีความก้าวหน้าสูงขึ้น คิดเป็นค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.00 และร้อยละ เท่ากับ 43.33 หมายความว่าหลังเรียน มีคะแนนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^