การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การอนุรักษ์
กว๊านพะเยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย จันทร์เพ็ญ ปัญญโรจน์
สถานที่วิจัย โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุxxxล ) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ปีที่พิมพ์ 2562
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เรื่อง การอนุรักษ์กว๊านพะเยา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่5 โดยใช้กรอบแนวคิดของ ADDIE Modle ของ เควิน ครูส (Kevin Kruse,2008.p1) ประยุกต์ร่วมกับกรอบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) โดยมีจุดมุ่งหมายของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 3.1 ) การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน 3.2) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 4) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุxxxล) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติแบบ ไม่มีอิสระ และการพรรณนาข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1.จากผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ผลการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม มุ่งพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ ยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมทักษะกระบวนเรียนรู้ และตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิด โดยเฉพาะการคิดแก้ปัญหา เป็นการคิดที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้และศึกษาวิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำวันให้ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว รูปแบบการเรียนการสอนที่นักเรียนและครูต้องการคือ รูปแบบการเรียนการสอนพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เป็นการฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
2.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “B 4P SPC Modle ” โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง สิ่งสนับสนุน สิ่งเสริมการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 8 ขั้น ขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอสถานการณ์ของปัญหา (Background Presentation step1 : B ) ขั้นที่ 2 ขั้นระบุปัญหา(Problem Issue step 2 : P ) ขั้นที่ 3 ขั้นทำความเข้าใจกับปัญหา (Problem Comprehension step 3 : P ) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอแนวทางในการแก้ปัญหา (Problem Solution step 4 : P) ขั้นที่ 5 ขั้นเลือกแนวทางโดยใช้เกณฑ์ที่เหมาะสมในการประเมินวิธีการแก้ปัญหา (Problem Solution Method step 5 : P) ขั้นที่ 6 ขั้นเลือก 1 แนวทางที่เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด (Selecting the best choice step 6 : S) ขั้นที่ 7 ขั้นนำเสนอวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาและจัดทำแผนปฏิบัติการ (Problem solving and Action planning step 7 : P ) ขั้นที่ 8 ขั้นการสรุปผลและประเมินผล (Conclusion and Evaluation step 8 : C) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอน มีความเหมาะสมระดับมาก ( X = 4.45) ค่าประสิทธิภาพ ( E1/ E2) ของรูปแบบการเรียนการสอน เท่ากับ 84.19/83.61ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
3.ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน
3.1 ผลการวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาด้วยรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยคะแนนความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3.2 ผลการเรียนรู้ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 โดยคะแนนผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด ( X= 4.61) ทั้งด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต