เผยแพร่ผลงานการประเมินโครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดยาเสพติด
ชื่อเรื่อง “การประเมินโครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขโรงเรียนวัดพระศรีอารย์
(ขันธราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2”
ผู้ดำเนินการ นางสาวกนกพร พิริยวุฒิกรอุดม
หน่วย โรงเรียนวัดพระศรีอารย์ (ขันธราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2
ปี 2561 - 2562
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1.) ศึกษารูปแบบการประเมินโครงการแบบ CIPPIEST ตามแนวคิดของ สตาฟเฟินบีม 2.) เพื่อสร้างแบบประเมินโครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดยาเสพติด 3.) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการ และ 4.) สรุปผลการประเมินโครงการ การดำเนินงานมี 4 ขั้นตอน 1.) ศึกษาเอกสารแนวคิด หลักการทฤษฎี งานวิจัย ในประเทศ และต่างประเทศ แนวคิดหลักการทฤษฎีจากผู้เชี่ยวชาญ / ผู้ทรงคุณวุฒิ เรื่องการประเมินโครงการแบบ CIPPIEST ตามแนวคิดของสตาฟเฟินบีม 2.) สร้างแบบประเมินโครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดยาเสพติดโรงเรียนวัด พระศรีอารย์ (ขันธราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต2 3.) ประเมินโครงการ 4.) สรุปผลการประเมินโครงการ ใช้วิธีการศึกษาทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเมินชนิดประมาณค่า การเก็บรวบรวมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินงานโครงการ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1.) ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ทำหน้าที่รับผิดชอบหลักโครงการ จำนวน 5 คน 2.) ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ร่วมดำเนินการในระดับชั้นเรียน จำนวน 10 คน และ 3.) ผู้ร่วมดำเนินการจากหน่วยงานอื่น โดยลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับทางโรงเรียน จำนวน 8 คน รวมผู้ประเมินจาก 3กลุ่ม รวมทั้งสิ้น23 คน และจากการประเมินผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ชี้วัดคุณภาพ ตามแนวทางตามคู่มือสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติด และอบายมุขของสำนักส่งเสริมกิจการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ โดยคณะครู และนักเรียที่ดำเนินงานโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนสีขาว ปลอดยาเสพติดโรงเรียนวัดพระศรีอาย์ (ขันธราษฎร์บำรุง) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 5 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การประเมินประสิทธิผล รองลงมาการประเมินบริบท การประเมินผลกระทบ การประเมินกระบวนการ การประเมินความยั่งยืนของผลที่เกิดขึ้น และอยู่ในระดับมากจำนวน 3 ด้าน เรียงลำดับ ดังนี้การประเมินผลที่สามารถถ่ายทอดขยายผล การประเมินปัจจัยนำเข้า และการประเมินผลผลิต
2. การประเมินผลการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ชี้วัดคุณภาพ ของโครงการ ตามแนวทางคู่มือสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ของสำนักส่งเสริมกิจการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ตามแบบรายงานสถานศึกษาสีขาว ผลการประเมินอยู่ในระดับดีเด่น โดยภาพรวมมีคะแนน ร้อยละ97.5 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าการดำเนินงานด้านการป้องกัน มีคะแนนรวม 59 คะแนน ด้านการค้นหา มีคะแนนรวม 10 คะแนน ด้านการรักษา มีคะแนนรวม 10 คะแนน ด้านการเฝ้าระวังมีคะแนนรวม 10 คะแนน และด้านการบริหารจัดการ มีคะแนนรวม 8.5 คะแนน