ผลการพัฒนาความพร้อมทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการประดิษฐ
ชื่อเรื่อง : ผลการพัฒนาความพร้อมทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการประดิษฐ์ด้วย
วัสดุที่หลากหลาย ชั้นอนุบาลปีที่ 1/1
ชื่อผู้ศึกษา : กฤติกา สุยะวงษ์
ปีการศึกษา : 2562
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความพร้อมทางสังคมของเด็กปฐมวัย โดยใช้กิจกรรมการประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย ชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ด้านการทำงานร่วมกัน การแบ่งปัน การช่วยเหลือ และการปฏิบัติตนเป็นผู้นำ-ผู้ตาม ระหว่างการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย ทั้งรายพฤติกรรมและในภาพรวม และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย โดยกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้คือเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมหาวันวิเวก จำนวน 19 คน ซึ่งมีวิธี ดำเนินการศึกษา ดังนี้ ทำการสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ก่อนการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น แล้วดำเนินการจัดกิจกรรมตามคู่มือการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย จนครบ 10 สัปดาห์ จึงทำการสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย โดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยชุดเดิมกับที่ใช้ในครั้งแรก โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่หลากหลายเพื่อพัฒนาความพร้อมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 แผนการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่หลากหลายเพื่อพัฒนาความพร้อมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 และแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละและค่า t-test สามารถสรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้
1. ความพร้อมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ทั้งรายพฤติกรรมและในภาพรวมระหว่างการจัด กิจกรรมการประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย ชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมหาวันวิเวก มีผลการพัฒนาที่สูงขึ้น จากการประเมินสัปดาห์ที่ 1-10 ด้านการทำงานร่วมกัน มีคะแนนเฉลี่ย 1.26, 1.37, 1.47, 1.58, 1.68, 1.89, 2.00, 2.21, 2.42, 2.74 ด้านการแบ่งปัน มีคะแนนเฉลี่ย 1.21, 1.37, 1.42, 1.53, 1.58, 1.68, 1.79, 2.16, 2.37, 2.58 ด้านการช่วยเหลือ มีคะแนนเฉลี่ย 1.26, 1.37, 1.47, 1.53, 1.74, 1.84, 2.05, 2.32, 2.47, 2.74 และด้านการเป็นผู้นำ ผู้ตาม มีคะแนนเฉลี่ย 1.16, 1.26, 1.37, 1.47, 1.63, 1.74, 1.84, 2.11, 2.32, 2.63 และในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน จากการประเมินสัปดาห์ที่ 1-10 มีผลการพัฒนาที่สูงขึ้นทุกด้านตามลำดับ 1.22, 1.34, 1.43, 1.53, 1.66, 1.79, 1.92, 2.20, 2.40, 2.67 แสดงว่าพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยในช่วง 10 สัปดาห์มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตามลำดับ
2. ผลการเปรียบเทียบความพร้อมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ทั้งรายพฤติกรรมและ ในภาพรวมก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการประดิษฐ์ด้วยวัสดุที่หลากหลาย ชั้นอนุบาลปีที่ 1/1 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดมหาวันวิเวก หลังการจัดกิจกรรมมีค่าการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทุกด้าน คือ ด้านการทำงานร่วมกันหลังการจัดกิจกรรมมีค่าความแตกต่าง ที่ร้อยละ 61.33 ด้านการแบ่งปันหลังการจัดกิจกรรมมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 51.00 ด้านการช่วยเหลือหลังการจัดกิจกรรมมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 52.33 และด้านการเป็นผู้นำ ผู้ตามหลังการจัดกิจกรรมมีค่าความแตกต่างที่ร้อยละ 49.00 และในภาพรวมก่อนการจัดกิจกรรมมีคะเฉลี่ยรวม 1.32 คิดเป็น ร้อยละ 43.92 หลังการจัดกิจกรรมมีคะเฉลี่ยรวม 2.92 คิดเป็นร้อยละ 97.33 และคะแนนค่าความแตกต่างเฉลี่ยรวม 1.60 คิดเป็นร้อยละ 53.42