การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในโรงเรียนเทศบาล
สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
ผู้วิจัย นางสาวสมหวัง รอดไธสง
สถานที่ โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการ สะเต็มศึกษาในโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น 2) ศึกษา
สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น 3) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น โดยการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น โดยตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 2 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษากลุ่มงานบริหารวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น จำนวน 53 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และการศึกษาการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในสถานศึกษาที่เป็นที่ยอมรับและแบบวิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practice) กลุ่มให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 3 โรงเรียนๆ ละ 3 คน รวม 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ระยะที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินรูปแบบโดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีความต้องการจำเป็น PNI
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น มี 7 องค์ประกอบ 43 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 การกำหนดนโยบายและแผน มี 5 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 การพัฒนาหลักสูตร มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาครู มี 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้ มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 5 การนิเทศและประเมินผล มี 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 6 การสร้างเครือข่ายแนวร่วมพัฒนา มี 6 ตัวบ่งชี้ และ องค์ประกอบที่ 7 การวิจัยและพัฒนา มี 7 ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น อยู่ในระดับปานกลาง ( x ̅ =3.40, S.D.=1.04) และสภาพที่พึง
ประสงค์อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 4.49, S.D.=0.67)
3. รูปแบบการบริหารจัดการสะเต็มศึกษาในโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองใหญ่ สำนักการศึกษา เทศบาลนครขอนแก่น โดยใช้การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง CTLSCR Model ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development) 2) การพัฒนาครู (Teacher development) หมายถึง การสร้างแรงบันดาลใจ การส่งเสริมให้ครูศึกษาด้วยตนเองการกระตุ้นให้ครูคิดสร้างสรรค์และออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา การส่งเสริมความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Agent of Change) การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (PLC) การประเมินครูสะเต็มศึกษา และการส่งเสริมครูผู้สอนเข้ารับการคัดเลือกครูสะเต็มศึกษาดีเด่น 3) การจัดการเรียนรู้ (Learning management) 4) การนิเทศและประเมินผล (Supervision and evaluation) 5) การสร้างเครือข่ายแนวร่วมพัฒนา (Creating a network of development alliances) 6) การวิจัยและพัฒนา (Research and development)
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, การบริหารจัดการสะเต็มศึกษา
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ