การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
ชื่อผู้วิจัย : นางสุกัญญา จันทร์เพ็ญ
ประเภทผลงานวิชาการ : ผลงานวิจัย
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้ คือ (1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 (2) เพื่อพัฒนานักเรียนให้สามารถเห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนระแงะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพ ชุดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
1.1ผลการสร้างชุดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง สมบัติของวัสดุโดย ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วยเอกสารได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คู่มือชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น 6 หน่วย การเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การนำวัสดุไปใช้ในชีวิตประจำวัน (2) หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง แรงลัพธ์และการใช้ประโยชน์ (3) หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ความดันอากาศ (4) หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ความดันของของเหลว (5) หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง แรงพยุงของของเหลว แรงลอยตัว การจมของวัตถุ (6) หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง แรงเสียดทาน
1.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพชุดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง สมบัติของวัสดุโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ความสอดคล้องของ ชุดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์มีค่าตั้งแต่ 0.67-1.00 และความเหมาะสมของชุดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์มีค่าเฉลี่ย 4.07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.32 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
1.3 ผลการศึกษาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยวัดคะแนนรายแผนเปรียบเทียบกับคะแนนหลังการใช้ชุดกิจกรรม E1/E2 ซึ่งเกณฑ์ปกติมีค่าเท่ากับ 80/80 จากการศึกษาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ พบว่า E1/E2 มีค่าเท่ากับ 86.40/84.75
2. ผลการนำชุดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ไปใช้
ผลการศึกษาเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้ชุดกิจกรรมและหลังใช้ชุดกิจกรรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังใช้ชุดกิจกรรม สูงกว่าก่อนใช้ชุดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05