การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรฯ
(คือเวียงจ่ำ) อำเภอปง จังหวัดพะเยา
ผู้วิจัย : นเรศ อภัยลุน
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลตำบลงิม (คือเวียงจ่ำ)
สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลงิม
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินผลโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรโรงเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลงิม (คือเวียงจ่ำ) อำเภอปง จังหวัดพะเยา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วยประเด็นการประเมิน 4 ด้าน คือด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร 3) เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพของนักเรียนจากโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 388 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 14 คน 2) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลตามแบบสอบถาม ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 14 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 3 คน คณะครู จำนวน 21 คนผู้ปกครองนักเรียนทุกระดับชั้น จำนวน 306 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 80 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบสนทนากลุ่ม ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสนทนา ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย(X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเป็นหลัก
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินผลโครงการโรงเรียนส่งเสริม
สุขภาพระดับเพชรโรงเรียนเทศบาลตำบลงิม (คือเวียงจ่ำ) อำเภอปง จังหวัดพะเยา โดยแยกรายด้านดังนี้ 1) ด้านบริบท (Context) พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า ความคิดเห็นโดยร่วมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 4) ด้านผลผลิต (Product) พบว่า ความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จำนวน 3 มาตรฐาน 19 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่า ปัญหาส่วนใหญ่ คือ โรงเรียนมีข้อจำกัดด้านงบประมาณในการดำเนินงานโครงการทำให้งบประมาณในการดำเนินงานมีไม่เพียงพอ ซึ่งต่อมาได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากเทศบาลตำบลงิม อำเภอปง จังหวัดพะเยา นอกจากนี้ชุมชนชนยังให้การสนับสนุนการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาที่สอดคล้องกับบริบทและความคาดหวังของหน่วยงานและชุมชน และระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ที่มีต่อโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรโรงเรียนโรงเรียนเทศบาลตำบลงิม (คือเวียงจ่ำ) อำเภอปง จังหวัดพะเยา ในด้านผลผลิต โดยภาพรวมมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ซึ่งมีผลกระทบทางสุขภาพของนักเรียน ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประกอบด้วย การมีสุขภาพดี (ดี) การดูแลสุขภาพ (เก่ง) และการมีความสุข (สุข) ความคิดเห็นโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด