การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน
โดยใช้หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญาที่หายไป ?”
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะกำ
(ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ชื่อผู้วิจัย นางศรีปภัสร์ พงษ์เดชวัฒนาพร
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน จับใจความ โดยใช้หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญาที่หายไป?” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญา ที่หายไป?” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี 2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญาที่หายไป?” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญาที่หายไป?” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญาที่หายไป?” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญาที่หายไป?” จำนวน 10 เรื่อง แบบประเมินความเหมาะสม แบบทดสอบ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญาที่หายไป?” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี พบว่า จากการที่นักเรียนอ่านไม่ออก การเขียนไม่ถูกต้อง เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ใช้ภาษาถิ่นในการสื่อสาร ส่งผลต่อการใช้ภาษาไทย และ การใช้ภาษาไทยยังไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาไทย ส่งผลกระทบต่อไปในการเรียนการสอนในรายวิชาอื่น ๆ อีกด้วย แต่วิธีหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นวิธีที่ดีมีประสิทธิภาพ ในการช่วยให้เด็กนักเรียนสนใจในการอ่าน คือการใช้สื่อการสอนที่เร้าใจและน่าสนใจของนักเรียน มาเป็นอุปกรณ์ในการสอน โดยเกิดจากการเรียบเรียงเนื้อหาที่สอดคล้องกับความต้องการรู้เห็นของเด็ก และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของโรงเรียนที่สามารถกระตุ้น ทำให้นักเรียนได้จดจำได้ ง่ายขึ้น
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญาที่หายไป?” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า SRI–MAA Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สิ่งที่ส่งเสริมฝึกการเรียนรู้ สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 ขั้นตอนคือ 1) S=Start - ขั้นจุดประกาย 2) R=Read - ขั้นอ่านขยายความรู้ 3) I=Imagination - ขั้นมุ่งสู่สืบสาน จินตนาการ 4) M=Mind map - ขั้นสรุปผ่านแผนผังความคิด 5) A=Apply - ขั้นพินิจประยุกต์ได้ และ 6) A=Assessment - ขั้นใช้หลากหลายประเมิน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 93.92/94.03 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 90/90 ปรากฏว่า สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้หลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญาที่หายไป?” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าประสิทธิผลเท่ากับ 0.908
4. ผลการประเมินนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้หนังสืออ่านประกอบบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ชุด “ภูมิปัญญา ที่หายไป?” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.52)