การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ชุดฝึกทักษะ
การเขียนย่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ชื่อผู้วิจัย นางศรีปรภัสร์ พงษ์เดชวัฒนาพร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ การเขียนย่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ตามเกณฑ์มาตรฐาน 85/85 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านสะกำ (ธันวาศิลป์) อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ แบบทดสอบประจำชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนย่อความ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนย่อความ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t – test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.65/89.73 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 85/85 ที่กำหนดไว้ 2) ประสิทธิผลของชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.8364 แสดงว่า นักเรียนที่เรียนด้วยชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.64 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนย่อความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยชุดฝึกทักษะการเขียนย่อความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.55)