การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา
แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา นางสาวจรัสศรี รัตนมาศ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานที่ศึกษา โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาและเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาและเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้ 2.1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ 2.2) ความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ 2.3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 2.4) เจตคติในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/6 โรงเรียนมัธยมเทศบาลวัดท่าแพ จำนวน 50 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล (1) ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องระบบจำนวนเต็ม รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบจำนวนเต็ม รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (4) แบบทดสอบข้อเขียนวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม จำนวน 4 ข้อ และ (5) แบบสอบถามเจตคติในการเรียนคณิตศาสตร์ ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาและเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 15 ข้อ
จากการศึกษาพบว่า ตอนที่ 1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาและเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เน้นการเรียนรู้จากการรวมมือและสามารถแก้ปัญหาได้ โดยผู้เรียนเป็นผู้กระทำกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนจนเกิดการเรียนรู้และการสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยใช้แนวคิด วิธีการและวิธีสอนอันหลากหลายจนก่อให้เกิดพัฒนาการด้านทักษะการเชื่อมโยง 4 ด้าน คือ 1) ตระหนักความสำคัญของการเชื่อมโยง 2) สามารถเข้าใจถึงวิธีการที่จะสร้างแนวคิดทางคณิตศาสตร์ 3) สามารถขยายความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ได้ และ 4) สามารถระลึกถึงความรู้ทางคณิตศาสตร์ที่เรียนมาก่อนหน้านี้ได้ ซึ่งการเกิดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ดังกล่าว เป็นผลมาจากการที่ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ตามขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้น ผสมผสานกับเทคนิคการร่วมมือ ดังนี้ ได้แก่ 1) ทบทวนความรู้เดิม 2) การแสวงหาความรู้ใหม่ 3) การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม + เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ 4) การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกลุ่ม+ เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5) การสรุปและจัดระเบียบความรู้ 6) การปฏิบัติและ/หรือแสดงผลงาน + เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ7) การประยุกต์ใช้ความรู้
ตอนที่ 2 ผลการประเมินผลของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาและเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 มีประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) เท่ากับ 81.875 และประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 83.2 แสดงว่า ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 รหัสวิชา ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.88/83.2
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็ม ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาและเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งผลการทดสอบก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (X ̅) เท่ากับ 13.16 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.05 ส่วนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (X ̅) เท่ากับ 24.96 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 1.66 ซึ่งจะพบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการประเมินทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังจากการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาและเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย (X ̅) เท่ากับ 7.46 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 1.34 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย (X ̅) เท่ากับ 16.94 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) เท่ากับ 1.83 และเมื่อทดสอบค่า t – test ของคะแนนหลังเรียนกับก่อนเรียน พบว่า นักเรียนมีความสามารถส่งเสริมทักษะในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. เจตคติในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาและเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด ( = 4.69, S.D. = 0.64)