การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2.
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 2) เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 3) เพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 น้ำใจ มีกลุ่มผู้ร่วมศึกษา ประกอบด้วย ผู้ศึกษา (ผู้อำนวยการโรงเรียนครูและบุคลากรในโรงเรียนที่ร่วมศึกษา จำนวน 10 คน รวม 11 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย กลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ไก้แก่ ครูประชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 จำนวน 1 คน ครูประชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 6 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 79 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 79 คน กลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหาร คณะครู และตัวแทนนักเรียน โรงเรียนชุมชนวัดไทรน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 ผู้บริหาร คณะครู และตัวแทนนักเรียน โรงเรียนวัดท่าชุมนุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง เขต 1 เครื่องมือในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของ นักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 แบบสัมภาษณ์ผู้และแบบสอบถามเพื่อประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของความก้าวหน้า ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกต นำมาสรุปเป็นความเรียง
ผลการพัฒนาพบว่า
1. สภาพและปัญหาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 โดยการวิเคราะห์เอกสาร สอบถาม และการสัมภาษณ์ พบว่า พฤติกรรมโดยรวมของนักเรียนทั้ง 2 ช่วงชั้นรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง
2. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 พบว่า มีกิจกรรมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน ตามกลยุทธ์ ดังนี้ 1) กลยุทธ์การเข้าค่ายคุณธรรม 2) กลยุทธ์การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม 3) กลยุทธ์พบพระพบธรรม
3. ผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนบ้านราษฎร์นิยม (จอประยูรอุปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 พบว่า ก่อนการพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับปานกลาง หลังจากพัฒนานักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยหลังการพัฒนานักเรียนมีร้อยละความก้าวหน้าของคุณธรรม จริยธรรมสูงกว่าก่อนการพัฒนาโดยเฉลี่ยร้อยละ 73.26
Abstract
The research aimed to : 1) Study the condition and moral problems Student ethics. 2) Stipulate guidelines for moral development Student ethics. 3) Monitoring and evaluation of moral development Student ethics . The population groups included 1 Administrator, 10 teachers. Data provider group included 6 teachers, 79 parents and 79 students. Interviewee group included Including administrators, teachers and student representatives at chumchonwatsainoi school Nonthaburi Primary Educational Service Area Office2 and Watthachumnum school Angthong Educational Service Area. The research instrument was Handbook of student morality and ethics development activities, Interview and questionnaire, including 5 rating scale and open-ended. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation and effectivenesss Index.
The results were as follows :
1. The level of the state of condition and moral problems Student ethics Banratniyom School. both in overall was at Moderate level.
2. Guidelines for the moral development Student ethics were Moral Camp Strategies, Teaching strategies to include moral and ethics, Strategies found Buddha found Dharma and Strategies for promoting and developing basic moral in daily life.
3. Results of follow-up and evaluation of basic moral development of students were as follows : Before moral development Ethics are at a medium level. After virtuous development Ethics were at the highest level. After the student development, there is a percentage of moral progress. The ethics were higher than before the average of 73.26 percent.