LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
            สำหรับโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์
ผู้วิจัย             นางสาวเกื้อกชภรณ์ ขวัญทอง
ตำแหน่ง             รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
            รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสถานศึกษา
โรงเรียน     โรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์
            สังกัดเทศบาลเมืองระนอง อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
ปีการศึกษา        ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ สังกัดเทศบาลเมืองระนอง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ 3) เพื่อศึกษาผล
การใช้รูปแบบโดยการประเมินตนเอง และรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) ตามรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้รูปแบบ
การมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยใช้กลยุทธ์
ในการพัฒนา คือ การประชุมแบบมีส่วนร่วม และการนิเทศภายใน ตามกระบวนการพัฒนาระบบ
(The System Development Life Cycle : SDLC) คือ การค้นหาระบบ (Systems Investigation) การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) การออกแบบระบบ (Systems Design) การนำระบบไปใช้ (Systems Implementation) การบำรุงดูแลรักษาและทบทวนระบบ (Systems Maintenance and Review) โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูล จำนวน 17 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 2 คน และครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน จำนวน 12 คน วิทยากรผู้มีประสบการณ์ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 2 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 365 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 54 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 192 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 119 คน ส่วนการศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 54 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 192 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1-3 จำนวน 119 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตร ของทาโร ยามาเน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและปัญหา 2) แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ 1) แบบสอบถามผลการปฏิบัติงาน 2) แบบบันทึกการนิเทศผลการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ความคิดเห็นของผู้ใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้รูปแบบ สำหรับผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 45 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก
อยู่ระหว่าง 0.25 – 0.81 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 2) แบบสอบถามความคิดเห็น
ของผู้ใช้รูปแบบ สำหรับผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับนักเรียน
จำนวน 25 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.21 – 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
        1. ผลศึกษาวิเคราะห์องค์กร (SWOT Analysis) ของโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ สังกัดเทศบาลเมืองระนอง โดยการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน (จุดแข็ง จุดอ่อน) และปัจจัยภายนอก (โอกาส และอุปสรรค) อยู่ในลักษณะ “เอื้อและแข็ง” และการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน จุดเด่น คือ ผู้เรียนมีทักษะความสามารถทั้งด้านวิชาพื้นฐาน ด้านอาชีพศึกษา มีเจตคติที่ดีที่จะศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จุดที่ควรพัฒนา คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนควรบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของผู้เรียนควรได้ตามมาตรฐานสากล มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ จุดเด่น คือ ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ มีทักษะความสามารถในการบริหารแบบมีส่วนร่วม เป็นแบบอย่างได้ สถานศึกษามีความโดดเด่นด้านแหล่งเรียนรู้ จุดที่ควรพัฒนา คือ ควรพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จุดเด่น คือ ครูมีทักษะความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานและทักษะชีวิต จุดที่ควรพัฒนา คือ ครูต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพเป็นรายบุคคล มีการวัดประเมินผลตามสภาพจริง โดยการใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย
        2. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ มีองค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และ 5) การวัดและประเมินผล
โดยใช้การมีส่วนร่วม คือ การวางแผนแบบมีส่วนร่วม (Plan) การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Do)
การตรวจสอบผลการดำเนินงาน (Check) การพัฒนาปรับปรุง (Act) และการสร้างความยั่งยืน
แบบมีส่วนร่วม (Sustainability) มีผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.68, S.D. = 0.50)
        3. ผลการประเมินตนเอง และรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) ตามรูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดีเลิศ ทุกมาตรฐาน
        4. ความคิดเห็นของผู้ใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สำหรับโรงเรียนเทศบาลบ้านเขานิเวศน์ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.55,
S.D. = 0.53)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^