LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย

usericon

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง : รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
        การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุ ชั้นเตรียมอนุบาล 2
        ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อน้ำจืด
ชื่อผู้ศึกษา : นางเสาวนีย์ อินทรัพย์
ปีการศึกษา : 2562


การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นเตรียมอนุบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อน้ำจืด โดยรวมและรายทักษะระหว่าง การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุ และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย โดยรวมและรายทักษะก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุ ชั้นเตรียมอนุบาล 2 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบ่อน้ำจืด ตำบลดอนข่อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน ซึ่งมีวิธีดำเนินการศึกษาดังนี้ ทำการประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ก่อนการจัดกิจกรรมระหว่างการทดลองในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 1-10 โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น ดำเนินการจัดกิจกรรมตามคู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุ ชั้นเตรียมอนุบาล 2 จนครบ 10 สัปดาห์ จึงทำการประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินชุดเดิม โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นเตรียมอนุบาล 2 แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นเตรียมอนุบาล 2 และแบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นเตรียมอนุบาล 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ( ) และค่าร้อยละ สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้

1. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นเตรียมอนุบาล 2 โดยรวมและรายทักษะระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุ เป็นช่วงสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 1-10 มีผลการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกสัปดาห์ และในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีผลการพัฒนาที่สูงขึ้นทุกสัปดาห์จากการประเมินสัปดาห์ที่ 1 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 1.47 สัปดาห์ที่ 2 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 1.63 สัปดาห์ที่ 3 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 1.80 สัปดาห์ที่ 4 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 1.90 สัปดาห์ที่ 5 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 2.14 สัปดาห์ที่ 6 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 2.29 สัปดาห์ที่ 7 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 2.54 สัปดาห์ที่ 8 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 2.65 สัปดาห์ที่ 9 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 2.73 และสัปดาห์ที่ 10 มีคะแนนรวมเฉลี่ย 2.84

2.ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ งานประดิษฐ์ด้วยวัสดุ ชั้นเตรียมอนุบาล 2 หลังการจัดกิจกรรมมีค่าการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม เมื่อพิจารณาตามรายข้อพบว่า ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อเล็กหลัง การจัดกิจกรรมมีค่าความก้าวหน้าอยู่ในระดับ 1.90 คิดเป็นร้อยละ 63.33 ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก มีค่าความก้าวหน้าอยู่ในระดับ 1.52 คิดเป็นร้อยละ 50.67 ด้านความสามารถในการควบคุมในการใช้กล้ามเนื้อเล็กหลังการจัดกิจกรรมมีค่าความก้าวหน้าอยู่ในระดับ 1.66 คิดเป็นร้อยละ 55.33 และด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาเล็กหลังการจัดกิจกรรม มีค่าความก้าวหน้าอยู่ในระดับ 1.72 คิดเป็นร้อยละ 57.33 ในภาพรวมทั้ง 4 ด้านมีค่าเฉลี่ยความกว้าหน้าอยู่ในระดับ 1.70 คิดเป็นร้อยละ 56.67



ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^