การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น
ในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นางสาวคนิตย์ถา เดชบุรีรัมย์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนประทาย อำเภอประทาย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักร การเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนประทาย สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 32 คน ซึ่งได้จากสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ซึ่งโรงเรียนประทายจัดห้องเรียนแบบคละกัน ระหว่างนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน มีผลสัมฤทธิ์ไม่แตกต่างกันและเป็นห้องเรียนที่ผู้ศึกษาเป็นครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต มัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 7 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 60 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐาน ใช้สถิติทดสอบแบบ t – test for Dependent Samples
ผลการศึกษา
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ
(E1/E2) เท่ากับ 82.23/81.57 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่องเคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเท่ากับ 0.6803 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าของความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 68.03
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี่ค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X- = 4.53 )