รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส
ผู้ศึกษา นางชนันท์วัลย์ ศุภภูดิสโสภณ ตําแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชํานาญการ
ชื่อสถานศึกษา วิทยาลัยเทคนิคชัยนาท สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ปีที่ทําการวิจัย 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์ รหัสวิชา 3100-0104 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/802) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์รหัสวิชา3100-0104ตามเกณฑ์ที่ยอมรับมีค่ามากว่า0.503)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรยีนของผู้เรียนที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์ รหัสวิชา 3100-
0104 ก่อนเรียนและหลังเรียน และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเอกสารประกอบ
การเรียนการสอนวิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์ รหัสวิชา 3100-0104 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาเป็นผู้เรียน
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับชั้น ปวส. 1 สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากําลัง กลุ่ม 5-6 จํานวน
27 คน ของวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท ที่ลงทะเบียนเรียนวิชานิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์ ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2560 ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการเรียนการสอน 2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนประจําหน่วย
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน การวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ การหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ดัชนีประสิทธิผล สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า 1) เอกสารประกอบการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.05/81.02 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ประสิทธิผลทางการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการสอน ทสี่ร้างขึ้นทําให้ผู้เรียนมีประสิทธิผลทางการเรียนรู้เท่ากับ0.738แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น0.738 คิดเป็นร้อยละ73.8สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้มากว่า0.50 3)ผลการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้ค่าที (t-test) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อเอกสาร ̅ประกอบการเรียนการสอน พบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = 4.10, S.D. = 0.45)
วิจัยฉบับเต็ม