รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ BANBOHIN Model ของโร
วิจัย เรื่อง รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ BANBOHIN Model ของโรงเรียนบ้านบ่อหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาผลจากการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ BANBOHIN Model ของโรงเรียนบ้านบ่อหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ ๒) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดจากการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ BANBOHIN Model ของโรงเรียนบ้านบ่อหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ BANBOHIN Model ของโรงเรียนบ้านบ่อหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ กลุ่มประชากร คือ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
๑) สถานศึกษามีการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและได้กำหนดเป็นเป้าหมายทางการเรียนโดยใช้ ข้อมูลฐาน ๓ ปีย้อนหลังเป็นเป้าหมายคุณภาพนักเรียนให้พัฒนาสูงขึ้น จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ เน้นทักษะในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาเต็มศักยภาพ มีการจัด แหล่งเรียนรู้ภายในได้อย่างเหมาะสม มีสื่อด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผู้เรียนมีสุขภาพกายสุขภาพจิตดี กล้าแสดงออกและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข โรงเรียนมีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่กำหนดไว้ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนตามความต้องการของชุมชน วัตถุประสงค์ของแผนการจัดการศึกษาของชาติ นโยบายของรัฐบาลและต้นสังกัด ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม พัฒนางานวิชาการเน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญตรงตามความต้องการ นำชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้ จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้ปีการศึกษา ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ โรงเรียนบ้านบ่อหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น ๑.๗๙ และผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน (RT) ปีการศึกษา ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ โรงเรียนบ้านบ่อหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น ๒๑.๔๘
๓) ความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารโรงเรียนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ BANBOHIN Model ของโรงเรียนบ้านบ่อหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด