การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการเรียนรู้ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านป่าเหมือด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก โดยใช้ชุดการเรียนรู้ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านป่าเหมือด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 ปีการศึกษา 2562 ทั้งหมด 2 ห้องเรียน จำนวน 73 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดการเรียนรู้ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 6 ชุด คู่มือครู หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีทั้งหมดจำนวน 6 ชุดการเรียนรู้ ใช้เวลาในการเรียนทั้งหมด 27 ชั่วโมง 30 นาที แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก แบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ชุดการเรียนรู้ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาผลต่าง ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการบรรยายความเรียงประกอบตาราง
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก โดยใช้ชุดการเรียนรู้ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก สำหรับนักเรียนระดับ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 22.24
2. คะแนนของแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้
ชุดการเรียนรู้ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอนกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาบนเปลือกโลก สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.62 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.52 โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด