รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย
ชื่อเรื่อง : รายงานผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นด้วยวัสดุที่หลากหลาย อายุ 3-4 ขวบ
ชื่อผู้ศึกษา : สมพร เหมี้ยงหอม
ปีการศึกษา : 2562
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย โดยภาพรวมและรายทักษะระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นด้วยวัสดุ ที่หลากหลาย และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยโดยภาพรวมและรายทักษะก่อนและหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นด้วยวัสดุที่หลากหลาย อายุ 3-4 ขวบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร่องไผ่ เทศบาลตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน ซึ่งมีผลการวิเคราะห์ข้อมูลทำการประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กก่อนการจัดกิจกรรม ระหว่างการทดลองในช่วงสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 1-10 โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น ดำเนินการจัดกิจกรรมตามคู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นด้วยวัสดุที่หลากหลาย จนครบ 10 สัปดาห์ จึงทำการประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินชุดเดิม มีเครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษาประกอบไปด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นด้วยวัสดุที่หลากหลายเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย แผนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นด้วยวัสดุ ที่หลากหลายเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย และแบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (µ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และค่าร้อยละสามารถสรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
1. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์การปั้นด้วยวัสดุที่หลากหลาย เป็นช่วงสัปดาห์ สัปดาห์ที่ 1-10 ทั้งรายพฤติกรรมและภาพรวมระหว่างการจัดกิจกรรม เป็นช่วงสัปดาห์มีผลการพัฒนาที่ดีขึ้นทุกสัปดาห์
2. ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ การปั้นด้วยวัสดุที่หลากหลาย หลังการจัดกิจกรรมมีค่าการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทุกด้าน คือ ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อเล็กหลังการจัดกิจกรรมมีค่าความก้าวหน้า ร้อยละ 53.33 ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อเล็กหลังการจัดกิจกรรมมีค่าความก้าวหน้า ร้อยละ 46.67 ด้านความสามารถในการควบคุมในการใช้กล้ามเนื้อเล็กหลังการจัดกิจกรรมมีค่าความก้าวหน้าร้อยละ 46.67 และด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาหลังการจัดกิจกรรม มีความก้าวหน้าร้อยละ 43.33 และในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีความก้าวหน้าร้อยละ 47.50