รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
เรื่อง : รายงานผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัด
กิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อของจริง อายุ 3-4 ขวบ
ชื่อผู้ศึกษา : นางวรรณา เพ็งศรี
ปีที่ศึกษา : 2562
การศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อของจริงระหว่างการจัดกิจกรรมเป็นช่วงสัปดาห์ ในภาพรวมและรายพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน อายุ 3-4 ขวบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร่องห้า ตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และเพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ได้แก่ การนับจำนวน การจับคู่ และการเปรียบเทียบ ก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อของจริงในภาพรวมและรายพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน อายุ 3-4 ขวบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านร่องห้า เทศบาลตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ คู่มือการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อของจริงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อของจริงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและแบบทดสอบเชิงปฏิบัติการทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยซึ่งมีวิธีดำเนินการศึกษา ดังนี้ ทำการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้านทักษะการนับจำนวน ด้านการจับคู่ และด้านการเปรียบเทียบที่สร้างขึ้น จำนวน 15 ข้อ จัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อของจริงเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จนครบ 10 สัปดาห์จึงทำการทดสอบหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ชุดเดิมกับที่ใช้ทดสอบก่อนกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อของจริงสถิติ ที่ใช้ในการศึกษา คือค่าเฉลี่ย (µ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และค่าร้อยละ สามารถสรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้
1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและรายทักษะระหว่างการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อของจริงเป็นช่วงสัปดาห์สัปดาห์ที่ 1 – 10 มีผลการพัฒนาที่สูงขึ้น ทุกสัปดาห์และในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน มีผลการพัฒนาที่สูงขึ้นทุกสัปดาห์ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 1
2. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาโดยใช้สื่อของจริงหลังการจัดกิจกรรมมีค่าการเปลี่ยนแปลงที่สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมทั้งในภาพรวมและรายพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 2