การพัฒนาคู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย
โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อ-สกุลผู้วิจัย ธันร์ญพรน์ ไชยพรรค
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 2) ออกแบบและพัฒนาคู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 3) ใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 4) ประเมินผลการใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ดำเนินการวิจัยและพัฒนาเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 25 คน ระยะที่ 2 ออกแบบและพัฒนาคู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ครูปฐมวัย จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ระยะที่ 3 ใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มประชากรในการวิจัย คือ ครูปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่ประสงค์เข้าร่วมอบรมโดยใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย จำนวน 21 คน ระยะที่ 4 ประเมินผลการใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มประชากรในการวิจัย คือ ครูปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่ประสงค์เข้าร่วมอบรมโดยใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย จำนวน 21 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการ 2) แบบสอบถามความต้องการ 3) แบบทดสอบ 4) แบบประเมินความเหมาะสม และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอข้อมูลวิจัยในลักษณะพรรณนาความ และการพรรณนาความประกอบตาราง
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาคู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา เป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่ผู้เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ และถูกกำหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และประกาศกฎกระทรวง ขณะที่ครูปฐมวัยขาดความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ทำให้เกิดความล่าช้าและเกิดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน จึงควรพัฒนาคู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย สอดคล้องกับความต้องการเข้ารับการอบรมของครูปฐมวัย ในระดับมากที่สุด ในเรื่องความเป็นมาและความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา มาตรฐานการศึกษา และการประเมินผลและรายงานผลการประกันคุณภาพ
2. ออกแบบและพัฒนาคู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) ออกแบบคู่มือ ประกอบด้วย เนื้อหาสาระ สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ กิจกรรมการพัฒนา (ขั้นที่ 1 ขั้นรู้-เข้าใจ ขั้นที่ 2 ขั้นเข้าถึง และขั้นที่ 3 ขั้นพัฒนา) ใบความรู้ ใบกิจกรรมกลุ่ม แบบบันทึกผลกิจกรรม แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการอบรม แบบประเมินชิ้นงาน/ผลงาน และ 2) ขั้นพัฒนาคู่มือ มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. ครูปฐมวัยที่อบรมโดยใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ มีคะแนนทดสอบความรู้หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และช่วยให้ผู้อบรมบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของการอบรม เกิดพฤติกรรม และความก้าวหน้าในการอบรม มีค่าดัชนีประสิทธิผล ร้อยละ 80.23
4. ความพึงพอใจของครูปฐมวัยที่มีต่อการใช้คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก