รูปแบบการพัฒนาครู
ผู้วิจัย ธันร์ญพรน์ ไชยพรรค
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษเป็นทางเลือกอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความเหมาะสม ที่จะนำไปใช้ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ทั้งนี้เพราะรูปแบบดังกล่าวโรงเรียนสามารถจัดการศึกษาให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการทั้งในกลุ่มสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ2)เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ3)เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษและ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครูในสังกัดสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 12 โรงเรียน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)ใช้xxxส่วน 1 ต่อ 3 จำนวนผู้บริหาร 12 คน จำนวนครูผู้สอน 24 คน รวม 36 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินเพื่อตรวจสอบความสอดคล้อง (IOC) องค์ประกอบของรูปแบบกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบแบบสอบถามความคิดเห็นแบบประเมินความพึงพอใจและแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างลำดับขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น4 ระยะคือ 1) ร่างรูปแบบ 2) ตรวจสอบรูปแบบ 3) ประเมินรูปแบบและ 4) ทดลองใช้รูปแบบสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่า t-test (Dependent Samples)ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความความต้องการในการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.66 ซึ่งความต้องการของผู้บริหารและครูที่ต้องการได้รับการพัฒนาอยู่ในระดับ มากที่สุด และรายการที่มีผลการประเมินมากที่สุดได้แก่ การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม ร้อยละ94.44รองลงมาคือ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนการพัฒนาหลักสูตรการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ และการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรงตามลำดับ
2. ผลการประเมินคุณภาพรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่1 กำหนดนโยบายขั้นที่ 2 จัดเตรียมความพร้อมคณะทำงานผู้รับผิดชอบและความพร้อมคณะทำงานขั้นที่ 3 กำหนดแนวทางพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขั้นที่ 4 ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นที่ 5 นำแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้และขั้นที่ 6 สะท้อนผลการปฏิบัติคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาครู ในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมและรายด้านมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด( =4.00 , S.D.=0.44)
3. เอกสารประกอบการอบรม การออกแบบหน่วยการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 80.65, ค่าประสิทธิภาพของผลโดยรวม (E2)เท่ากับ 84.79 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 และดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8529 ซึ่งหลังการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 85.29
4.การทดสอบคะแนนของผู้เข้ารับการอบรม มีคะแนนก่อนการอบรม เฉลี่ยเท่ากับ28.38 และมีคะแนนหลังการอบรม เฉลี่ยเท่ากับ 33.92 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบทั้งสองครั้ง พบว่าคะแนนการทดสอบภาคความรู้หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความพึงพอใจของผู้บริหารที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการสร้างหน่วยการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก( =4.02, S.D.=0.49)และความพึงพอใจของครู ที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาครูในการสร้างหน่วยการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยภาพรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก( =3.95, S.D.=0.48)
สรุปได้ว่ารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพครู สำหรับการจัดการเรียนรู้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง