การประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนเทศบาล ๔-รองแหม่ม
สู่มาตรฐานห้องสมุด ๓ ดี
ผู้วิจัย: นางชวนพิศ รุจิระยรรยง
ตำแหน่ง: รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล ๔ วัดคีรีมาส
สถานที่ทำงาน: โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดคีรีมาส อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเกาะสมุย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย: 2561
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อประเมินโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดคีรีมาส สู่มาตรฐานห้องสมุด ๓ ดี โดยใช้การประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดคีรีมาส สู่มาตรฐานห้องสมุด ๓ ดี (2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดคีรีมาส สู่มาตรฐานห้องสมุด ๓ ดี (3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดคีรีมาส สู่มาตรฐานห้องสมุด ๓ ดี และ (4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดคีรีมาส สู่มาตรฐานห้องสมุด ๓ ดี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนครูบรรณารักษ์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ วัดครีมาส อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเกาะสมุย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นสอบถามมาตราส่วนประมาณ (Rating Scale) 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง(Structured interview) แบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ปรากฏผลการศึกษาดังนี้
1. ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน ครูบรรณารักษ์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดคีรีมาส ที่มีต่อโครงการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดคีรีมาส สู่มาตรฐานห้องสมุด ๓ ดี ในภาพรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก (x-bar=4.36) เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านสภาวะแวดล้อมของห้องสมุด (x-bar=4.45) 2) ด้านกระบวนการดำเนินงาน (x-bar=4.44) ด้านปัจจัยนำเข้า (=4.30) และ 4) ด้านผลผลิต (=4.25)
2. ด้านสภาวะแวดล้อม ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก (x-bar=4.45) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สถานที่เหมาะสมกับการดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar=4.32) และการประสานงานระหว่างบุคลากรทำให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินโครงการมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x-bar=4.06) ตามลำดับ
3. ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก (x-bar=4.30) และเมื่อพิจารณารายด้านแล้ว พบว่า ด้านวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar=4.44) รองลงมาเป็นด้านอาคารสถานที่ (x-bar=4.38) ด้านบุคลากร (x-bar=4.31) และด้านงบประมาณ (x-bar=3.94) ตามลำดับ
4. ด้านกระบวนดำเนินการ ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก (x-bar=4.44) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน แล้ว พบว่า ด้านการวางแผนการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x-bar=4.51) รองลงมาเป็นด้านการติดตามประเมินผล (x-bar=4.50) และด้านการจัดกิจกรรม (x-bar=4.37) ตามลำดับ
5. ด้านผลผลิต
5.1 ด้านบรรยากาศในภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอน ครูบรรณารักษ์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนประเมิน อยู่ในระดับมาก (x-bar=4.13) และนักเรียนประเมิน อยู่ในระดับมาก (x-bar=4.30) เช่นกัน
5.2 ด้านบรรณารักษ์ ในภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอน ครูบรรณารักษ์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนประเมิน อยู่ในระดับมาก (x-bar=4.39 ) และนักเรียนประเมิน อยู่ในระดับมาก (x-bar=4.47) เช่นกัน
5.3 ด้านหนังสือและสื่อการเรียนรู้ ในภาพรวม พบว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอน ครูบรรณารักษ์ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนประเมิน อยู่ในระดับมาก (x-bar=4.28 ) และนักเรียนประเมิน อยู่ในระดับมาก (x-bar=4.35) เช่นกัน