การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ
การศึกษาเรื่อง : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ(Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว
ผู้ศึกษา : สุทธิพร ใบแสง
สถานศึกษา : โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว
ปีการศึกษา : 2562
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน จากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ หลังจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว และเพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.2 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 38 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลากมา 1 ห้องเรียน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผล คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.1 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลากมา 1 ห้องเรียน (บุญชม ศรีสะอาด. 2551 : 152) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ หลังจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว นำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่า t – test
การศึกษา พบว่า
1. การศึกษาสภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว พบว่า จากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การศึกษาสภาพปัญหาในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว พบว่า จากการจัดการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนในเนื้อหาที่เกี่ยวกับการอ่านและความคิดรวบยอด ผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปีการศึกษา 2560 - 2561 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในทักษะการอ่านและความคิดรวบยอด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 65 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ และทักษะการฟัง การอ่าน การพูด และการเขียนนั้นนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านต่ำกว่าทักษะด้านอื่น ๆ ผู้ศึกษาจึงได้ศึกษาวิธีการและสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด กระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น ไม่เกิดความเบื่อในการเรียนรู้ และช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา
ดังนั้น ผู้ศึกษาเห็นว่าควรพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว เพื่อใช้ในการแก้ไขสภาพปัญหาการเรียนการสอนที่ปรากฏในห้องเรียน และเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อไป
2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว พบว่า ในภาพรวม มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 80/80 คือ 86.36/85.57
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว พบว่า ค่าเฉลี่ยก่อนเรียน 20.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 7.32 ค่าเฉลี่ยหลังเรียน 25.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.56 และค่า t – test เท่ากับ 12.28**แสดงว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ .01
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ หลังจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว พบว่า ในภาพรวมนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.46,S.D.=0.71) ข้อที่นักเรียนมีความพึงใจมากที่สุด คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทำให้นักเรียนรู้จักการอ่านและความคิดรวบยอดอย่างดี ( = 4.74,S.D. = 0.54) รองลงมา คือ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ( = 4.69,S.D.=0.52) และนักเรียนได้ลงมือปฏิบัติในแบบฝึกด้วยตนเอง และครูมีเทคนิคการสอนที่ตื่นเต้น น่าสนใจ ( =4.55, S.D.=0.71) ตามลำดับ และความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มขยายผลที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ หลังจากการใช้หลังจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและทักษะความคิดรวบยอด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว พบว่า ในภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.46,S.D. = 0.56) ข้อที่นักเรียนมีความพึงใจมากที่สุด คือ นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน ( = 4.67,S.D. = 0.48) และแบบฝึกเสริมทักษะมีสื่อประกอบเนื้อหาที่สอน( = 4.67,S.D. = 0.48)รองลงมา คือ นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ( = 4.58,S.D. = 0.50) และนักเรียนพอใจกับกิจกรรมการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ ( = 4.56, S.D. = 0.56) ตามลำดับ
คำสำคัญ การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning), ทักษะการอ่าน, ทักษะความคิดรวบยอด