ผลการใช้กิจกรรมเกมการละเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมนิสัย
ชื่อผลงาน ผลการใช้กิจกรรมเกมการละเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมนิสัย ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1
ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่ เทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ผู้ศึกษา นางนัฐชภัทร์ ขัติยะ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่ เทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ปีที่ศึกษา 2561
ผลการใช้กิจกรรมเกมการละเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมนิสัยของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่ เทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และ 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ของพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุ 3 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดู่ เทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมสังคมนิสัย โดยใช้กิจกรรมเกมการละเล่น 2) แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนปฐมวัย ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 3 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent Sample และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นในด้านการปฏิบัติตามข้อตกลง 2) ด้านการอดทนรอคอย 3) ด้านการช่วยเหลือแบ่งปัน 4) ด้านการยอมรับ 5) ด้านการมีส่วนร่วม ก่อนการจัดกิจกรรมเกมการละเล่น มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมทางสังคมเท่ากับ 2.12 คะแนน และหลังการจัดกิจกรรมไปแล้วในสัปดาห์ที่ 1 มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมทางสังคมเท่ากับ 2.50, 2.51, 2.57, 2.56, 2.57, 2.60, 2.60 และ 2.61 คะแนน ตามลำดับแสดงว่าค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมทางสังคมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ
2. นักเรียนปฐมวัย ที่ได้รับหลังการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นคะแนนพฤติกรรมทางสังคมแยกรายด้านแต่ละสัปดาห์มีความแปรปรวนแบบวัดซ้ำแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P<.01 แสดงว่าคะแนนพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนปฐมวัยในรายด้านมีค่าแตกต่างกันอย่างน้อย 1 ช่วงสัปดาห์ผู้ศึกษาจึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ต่อไป