LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

รายงานการวิจัยและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model

usericon

เรื่อง            รายงานการวิจัยและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model
เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย            ขนิษฐา ลำทุมลักษณ์
กลุ่มสาระการเรียนรู้    คณิตศาสตร์
ปีการศึกษา 2561

บทคัดย่อ

    การวิจัยและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 3.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2 เปรียบเทียบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3.3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล วัดเสาธงทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวนนักเรียน 46 คนได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ถึงวันที่ 3 ตุลาคม 2561 กลุ่มขยายผลรูปแบบครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวนนักเรียน 43 คน
    ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ t-test (Dependent Samples)

ผลการวิจัย พบว่า
    ผลการวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถสรุปผลการวิจัย ดังนี้
    1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ครูสอนเน้นทักษะการคำนวณมากกว่าวิธีการแก้ปัญหา หรือกระบวนการแก้ปัญหา 2) นักเรียนขาดทักษะในการอ่านและทำความเข้าใจโจทย์ปัญหา 3) ภาษาและคำที่ใช้ในโจทย์ปัญหาไม่กระตุ้นหรือส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดเชิงวิเคราะห์หรือไม่เหมาะสมกับวัยและสติปัญญาของเด็ก ทำให้นักเรียนไม่เข้าใจคำศัพท์หรือโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 4) นักเรียนขาดความสามารถในการคิดคำนวณ ขาดทักษะการบวก ลบ คูณและหาร 5) นักเรียนด้อยสมรรถภาพในการคิดในใจ ไม่รู้จักคะเนหรือประมาณคำตอบ 6) นักเรียนขาดการคิดหาเหตุผล มองไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ที่โจทย์กำหนดให้ 7) นักเรียนใช้วิธีการในการแก้โจทย์ปัญหาผิด เพราะไม่ได้นำเอาทฤษฎี กฎเกณฑ์ สูตรต่าง ๆ หรือความรู้ที่เรียนมาไปใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา 8) นักเรียนขาดความสนใจและตั้งใจที่จะแก้โจทย์ปัญหา มีสาเหตุมาจากนักเรียนไม่สนใจ 9) เวลาที่ใช้ในการเรียนการสอนโจทย์ปัญหาไม่เหมาะสมหรือไม่เพียงพอ และ10) นักเรียนมีความสะเพร่า นำตัวเลขหรือโจทย์ปัญหามาคิดคำนวณผิด
    2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีองค์ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน โดยใช้แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานที่สนับสนุน ได้แก่ ทฤษฎีเมตาคอกนิชัน (Metacognition) แนวคิดการคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics) แนวคิดการสะท้อนคิด (Reflection) และแนวคิดปัญหาแบบเปิดทางคณิตศาสตร์ซึ่งในขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นกระตุ้นความรู้ (Knowledge Awareness : K) ขั้นที่ 2 ขั้นคิดค้นคำตอบ (Advanced Answer : A) ประกอบด้วย 1) เข้าใจปัญหา 2) สร้างภาพตัวแทนปัญหา 3) วางแผนแก้ปัญหา 4) ดำเนินการแก้ปัญหา 5) ประเมินผลการแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learn from practice : L) ขั้นที่ 4 ขั้นอภิปราย สรุปผล (Discussion : D) ผลการหาค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.64/81.49
    3. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบ อยู่ในระดับมาก
4. ผลการขยายผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลการวิจัยที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ KALD Model เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน เพื่อพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียน และ มีความพึงพอใจหลังเรียนอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^