การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้
ผู้วิจัย นางสำรวย แก้วแกมทอง
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๒
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีวัตถุประสงค์ ๑) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๒) สร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓) ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ และ๔) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๑ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน ๓๔ คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก ๑ ห้องเรียนจากนักเรียนทั้งหมด ๓ ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (๑) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ (๒) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (๓) แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี เทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และ (๔) แบบสอบถามความพึงพอใจ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธ ศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ๑) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ได้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นมีชื่อเรียกว่า CGCICE Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนการสอน ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน ๖ ขั้นตอน คือขั้นสร้างความสนใจ (Create interest) ขั้นสร้างความรู้ (Generative Learning) ขั้นเรียบเรียงความรู้ (Compile Knowledge) ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ (Implement) ขั้นสรุป (Conclusion) ขั้นประเมินผล (Evaluation) ๒) ผลการสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ พบว่า ค่าประสิทธิภาพ E๑/E๒ แบบรายบุคคล (Individual Tryout) เท่ากับ ๗๙.๑๗/๗๗.๕๐ ค่าประสิทธิภาพ E๑/E๒ แบบกลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) เท่ากับ ๘๐.๖๙/๗๙.๔๔ และการทดลองภาคสนาม เท่ากับ ๘๓.๐๘/๘๑.๙๒ ๓) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๔ คน ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๔.๗๔/๘๒.๓๕ และจากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๔) ผลการประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ พบว่านักเรียนมีผลการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทุกข้อมีผลการประเมินในระดับดี นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ อยู่ในระดับมาก