รายงานการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีฯ
ผู้ศึกษา นางสำรวย แก้วแกมทอง
ปีที่ศึกษา ๒๕๖๑
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช ชุด “ระเบียงบุญ ระเบียงธรรม” กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช ชุด “ระเบียงบุญ ระเบียงธรรม” ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ (๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน หลังเรียนหนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช ชุด “ระเบียงบุญ ระเบียงธรรม” ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี และ (๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช ชุด “ระเบียงบุญ ระเบียงธรรม” ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒/๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนเทศบาล วัดศรีทวี สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ได้จากการสุ่ม จากประชากร ๓ ห้องเรียน มา ๑ ห้องเรียน จำนวน ๒๘ คนโดยการสุ่มแบบ Cluster Random Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี ๔ ชนิด ได้แก่ (๑) หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช ชุด “ระเบียงบุญ ระเบียงธรรม” กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๔ เล่ม เล่มที่ ๑ เรื่องวิถีประเพณีเมืองนคร ถวายทานไฟ เล่มที่ ๒ เรื่องกวนข้าวมธุปายาสยาคู เล่มที่ ๓ เรื่องเกิดมาหนึ่งชาติแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนคร เล่มที่ ๔ เรื่องประกาศบุญสารทเดือนสิบ (๒) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน ๔ แผน ๑๒ ชั่วโมง (๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๗ และ (๔) แบบสอบถามความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๑ การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ศึกษาเป็นผู้สอนด้วยตนเอง ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้แก่ การหาค่าความตรงของเครื่องมือ โดยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้อง (Item-Objective Congruence Index : IOC) ค่าความยากง่าย (p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยสูตร (KR-๒๐) ของ คูเดอร์ ริชาร์ดสัน สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ใช้การหาค่า E๑ และ E๒ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ dependent และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช ชุด “ระเบียงบุญ ระเบียงธรรม” กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ใช้การหาค่า และ SD
ผลการศึกษาพบว่า
๑.หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช ชุด “ระเบียงบุญ ระเบียงธรรม” กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๓.๕๗/๘๗.๑๔ แสดงว่าประสิทธิภาพกระบวนการและประสิทธิภาพผลลัพธ์สูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้
๒.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้ศึกษา หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช ชุด “ระเบียงบุญ ระเบียงธรรม”กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑
๓.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีความพึงพอใจต่อ หนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช ชุด “ระเบียงบุญ ระเบียงธรรม”กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๕๘ คือมีความพึงพอใจต่อการศึกษาด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมประเพณีท้องถิ่นเมืองนครศรีธรรมราช ชุด “ระเบียงบุญ ระเบียงธรรม”กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ในระดับมากที่สุด