ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการทดลอง-ครูจันทรัสม์
ตามรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1
ผู้วิจัย นางจันทรัสม์ ขอมา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานที่ทำงาน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ๕ วัดภูเขาทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเกาะสมุย
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการทดลองสีจากธรรมชาติตามรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 มีความมุ่งหมายของการวิจัย ได้แก่ 1)เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการทดลองสีจากธรรมชาติตามรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้มีคุณภาพ 2)เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการทดลองสีจากธรรมชาติตามรูปแบบการสืบเสาะหาความรู้ และ 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการทดลองสีจากธรรมชาติตามรูปแบบการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี กำลังศึกษา อยู่ชั้นเด็กเล็ก 1/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ๕ วัดภูเขาทอง สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งหมด 1 ห้อง จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยหน่วยห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม โดยใช้วิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 2 ชนิด ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การทดลองสีจากธรรมชาติตามรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 จำนวน 24 แผน แผนละ 40 นาที และ 2) แบบทดสอบเชิงปฏิบัติการวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาลปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบเชิงปฏิบัติการ จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ () ค่าเฉลี่ย(x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D) ร้อยละของความก้าวหน้า (D) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test Dependent Samples)
ปรากฏผลการวิจัย ดังนี้
1. คุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การทดลองสีจากธรรมชาติตามรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ชั้นเด็กเล็ก 1 ในภาพรวม โดยภาพรวมมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 มีความเหมาะสม และคุณภาพแบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 โดยภาพรวมมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 มีความเหมาะสม
2. ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน x-bar = 10.88, S.D. =3.88 ส่วนคะแนนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย x-bar=27.06, S.D. =1.79ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ส่วนในการทดสอบค่าที (t-test) รายเล่มพบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 ก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมการทดลองสีจากธรรมชาติตามรูปแบบการสืบเสาะหาความรู้ของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.8464 แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น 0.8464 หรือคิดเป็นร้อยละ 84.64