การสร้างและผลการใช้ชุดฝึกทักษะ---ครูนิลินรัตน์
มีวิธีการดำเนินการสร้าง ดังนี้
กำหนดประชากร จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 ศูนย์พัฒนา เด็กเล็กเทศบาล ๓ วัดคีรีวงการาม สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครเกาะสมุย และผู้ปกครองของนักเรียน จำนวน 31 คน 2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน 3) กลุ่มทดลองหาคุณภาพและค่าความเชื่อมั่นที่ใช้ และ4) กลุ่มผู้รับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ โดยกำหนดขั้นตอนการสร้างจำนวน 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการ 2) ขั้นดำเนินการศึกษาและขั้นรายงานผล ได้ดำเนินการดังนี้ เตรียมตัวผู้สร้างและพัฒนาและเตรียมตัวกลุ่มประชากร เพื่อดำเนินการศึกษาตามลักษณะเป็นวงจรในศึกษา 4 ขั้น ตามลำดับดังนี้ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติ (Action) 3) การสังเกตและบันทึกผล (Observing) และ 4) การสะท้อนผล (Reflecting) โดยออกแบบการทดลองใช้ แบบ One-group Pretest-Posttest Design ซึ่งได้สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการศึกษา 5 ชนิด ดังนี้ 1) ชุดฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและแขนโดยใช้ลูกเทนนิสในกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 มีระดับคุณภาพของโครงสร้าง เท่ากับ 0.73 และระดับคุณภาพของรูปแบบและเนื้อหาของชุดฝึกทักษะ เท่ากับ 4.07 ซึ่งอยู่ในระดับมาก 2) แผนการจัดประสบการณ์ ในกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือและแขน สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 มีระดับคุณภาพ เท่ากับ 0.87 3) แบบทดสอบพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและแขน และแบบประเมินพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก ตามมาตรฐานที่ 2 มีระดับคุณภาพ เท่ากับ 1.00 และ 0.77 ตามลำดับ และมีค่าความเชื่อมั่น ( ) เท่ากับ 0.623 4) แบบวัดความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียนที่จัดประสบการณ์ กิจกรรมกลางแจ้งเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือและแขนสำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 มีระดับคุณภาพ เท่ากับ 0.78 และมีระดับความเชื่อมั่น ( )ที่ระดับ 0.833 5) แบบประเมินความเหมาะสมและประโยชน์ทางวิชาการของชุดฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและแขนโดยใช้ลูกเทนนิส สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 โดยผู้รับการเผยแพร่ มีระดับคุณภาพ เท่ากับ 0.92 จึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มเป้าหมายและนำวิเคราะห์ตามสถิติที่กำหนดไว้
ปรากฏผลการศึกษา ดังนี้
1) ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและแขนโดยใช้ลูกเทนนิส สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 92.18/82.48
2) การเปรียบเทียบพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและแขนของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึกด้วยชุดฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและแขนโดยใช้ลูกเทนนิส สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3) การเปรียบเทียบพัฒนาการของกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กของนักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยของการประเมินในตัวบ่งชี้ที่ 1 และตัวบ่งชี้ที่ 2 จำนวน 12 และ 9 รายการประเมินตามลำดับหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึกด้วยชุดฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและแขนโดยใช้ลูกเทนนิส สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ทั้ง 2 ตัวบ่งชี้ ในมาตรฐานที่ 2
4) ดัชนีประสิทธิผลของพัฒนาการกล้ามมือและแขนของนักเรียน มีความก้าวหน้า ของพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและแขน เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.44
5) ดัชนีประสิทธิผลของพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อแขนของนักเรียนมีความก้าวหน้าของพัฒนาการกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กตามมาตรฐานที่ 2 ของตัวบ่งชี้ที่ 1 และ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.36 และ 86.34 ตามลำดับ
6) ความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียนมีระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการกล้ามเนื้อมือและแขนโดยใช้ลูกเทนนิส สำหรับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก 1 อยู่ในระดับมากที่สุด
7) ความเหมาะสมและประโยชน์ทางวิชาการของชุดฝึกทักษะการใช้กล้ามเนื้อมือและแขน โดยใช้ลูกเทนนิส สำหรับนักเรียนระดับ มีระดับความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ทางวิชาการอยู่ในระดับมาก