การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 4) ประเมินรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 แบบทดสอบการอ่านจับใจความ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2. การพัฒนารูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้นใช้ชื่อเรียกว่า “ASUEC Model” มีองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ซึ่งมี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเร้าความสนใจ (Attention) 2) ขั้นการแสวงหาความรู้ใหม่ (Seeking new Knowledge) 3) ขั้นการศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล (Understand the information) 4) ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ (Educational exchange) และ 5) ขั้นสรุปผล (Conclusion) ผลจากการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ด้านภาษาไทย ผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ต้องการให้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ นักเรียนสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุข เพราะมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง ควบคู่กับกิจกรรมกลุ่มและการทำแบบฝึกทักษะ บทเรียนมีภาพสีสันสดใส มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายไม่น่าเบื่อพร้อมทั้งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 จากการทดลองภาคสนาม มีค่าเท่ากับ 83.13/81.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 31 คน ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 83.35/81.93 ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความ ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.51 , S.D. = 0.48)