รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านคำตามมาตราตัวสะกด
รายงานการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านคำตามมาตราตัวสะกด ชุด วิถีชีวิตของชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านคำตามมาตราตัวสะกด ชุด วิถีชีวิตของชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านคำตามมาตราตัวสะกด ชุด วิถีชีวิตของชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านคำตามมาตราตัวสะกด ชุด วิถีชีวิตของชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลวัดศรีทวี อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 32 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชน จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด วิถีชีวิตของชุมชน จำนวน 8 แผน เวลา 24 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียน จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านคำตามมาตราตัวสะกด ชุด วิถีชีวิตของชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หนังสือส่งเสริมการอ่านคำตามมาตราตัวสะกด ชุด วิถีชีวิตของชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.84/83.13
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านคำตามมาตราตัวสะกด ชุด วิถีชีวิตของชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านคำตามมาตราตัวสะกด ชุด วิถีชีวิตของชุมชน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.50 , S.D. = 0.50)