การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกด
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบ้านแม่ต๋อม
ผู้รายงาน นางสาวพิชามญชุ์ โพธิศรี
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านแม่ต๋อม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การทำวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนบ้านแม่ต๋อม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดโดยใช้แผนผังความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 ก่อนและหลังการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด และเพื่อทดลองใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกดโดยใช้แผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านแม่ต๋อม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 จำนวน 9 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด จำนวน 15 แบบฝึก และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ แบบแผนการทดลองใช้แบบกลุ่มเดียว(One Group Pre-test Post-test Design) สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. ผลการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 พบว่า แบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกด ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง คำนำ คำชี้แจง สารบัญ วัตถุประสงค์ (มาตรฐาน/ผลการเรียนรู้) แบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมฝึก แบบทดสอบหลงเรียน จำนวน 15 แบบฝึก ประสิทธิภาพของแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำ เรื่อง มาตราตัวสะกด มีค่าเท่ากับ 88.59/90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ ซึ่งสอดคลองกับสมมุติฐานการวิจัย ข้อที่ 1
2. ผลการประเมินทักษะการเขียนสะกด เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยใช้แผนผังความคิด พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนทดสอบวัดทักษะการเขียนสะกดคำก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 โดยทักษะการเขียนสะกดคำหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 90 ซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัย ข้อที่ 2