LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model”

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการ
คิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย    นางชนิสรา อริยะเดชช์
หน่วยงาน     โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่วิจัย    2562

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model”เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการใช้วิธีการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งขั้นตอนการวิจัยเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research: R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis: A) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการใช้แบบสอบถาม คือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 18 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) และ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้กับแบบสัมภาษณ์ ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 8 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 10 คน กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ( ) และ S.D. ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development:D1) เป็นการออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D & D) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถทุกห้อง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ร่างแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะ การคิดวิเคราะห์ ร่างชุดการเรียนรู้ ร่างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร่างแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ร่างแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ระยะที่ 3 การวิจัย (Research: R1) เป็นการนำไปใช้ (Implementation: I) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จำนวน 27 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชุดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ ระยะที่ 4 การพัฒนา (Development:D1) เป็นการประเมินผล (Evaluation: E) การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ครูส่วนใหญ่จัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก เน้นการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนทำความเข้าใจความคิดรวบยอดในเนื้อหาบทเรียน กระบวนการเรียนรู้ไม่สนับสนุนให้นักเรียนฝึกคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงความรู้และสร้างความรู้ด้วยตนเอง ขาดการสรุปความรู้และต่อยอดความคิดไม่เน้นให้คิดที่มีวิธีการหาคำตอบที่หลากหลาย การหาความคิดใหม่น่าสนใจ หรือหาแนวทางในการหาคำตอบที่แตกต่างด้วยวิธีการใหม่ นักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีความมั่นใจในตนเอง ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในชั้นเรียน นักเรียนไม่กล้าคิด ไม่กล้าถาม การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ไม่เอื้อต่อการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ได้คิดและแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model”
เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุน โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ มี 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นสร้างความพร้อม (Stimulation : S) 2) ขั้นเตรียมพิชิตโจทย์ (Introduction : I) 3) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา (Problem : P) 4) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Analysis : A) 5) ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Construction : C) ขั้นที่ 6 ขั้นนำไปประยุกต์ใช้ (Application : A) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็น ( = 4.84)
     3. ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยระหว่างการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 88.25 และคะแนนเฉลี่ยการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 80.87 ดังนั้นรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.25/80.87 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ ผลการเปรียบเทียบคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้ “SIPACA Model” เพื่อเสริมร้างสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.29) ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้“SIPACA Model” เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การหาร สำหรับชั้นประถมศึกษาปี
ที่ 4 พบว่า นักเรียนจำนวนเฉลี่ย 2-3 คน ทำงานไม่ทันเพื่อนทำให้งานกลุ่มช้าไปด้วย เนื่องจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนเผชิญปัญหาที่นักเรียนต้องเรียนรู้ชุดการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ที่นักเรียนยังขาดประสบการณ์ในการศึกษาชุดการเรียนรู้และการทำงานเป็นกลุ่ม โดยผู้วิจัยได้นำปัญหาดังกล่าวไปปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ในขั้นตอนดังกล่าวต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^