การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการดำรงชีวิตของพืช
ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โรงเรียนสตรียะลา
ผู้ศึกษา : นางสุไวบ๊ะ อิเรฮิง
สถานศึกษา : โรงเรียนสตรียะลา ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 15
ปีที่ศึกษา : 2562
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 โรงเรียนสตรียะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 15 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียน เป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วย การดำรงชีวิตของพืช แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการดำรงชีวิตของพืช และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการดำรงชีวิตของพืช ดำเนินการทดลองโดยใช้รูปแบบ One Group Pretest Posttest Design มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยการทดสอบค่าที่ (t-test Dependent Samples)
ผลการศึกษา พบว่า
1.ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการดำรงชีวิตของพืช มีค่าเท่ากับ 84.62/82.31 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เมื่อนักเรียนได้รับการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการดำรงชีวิตของพืช พบว่าหลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หน่วยการดำรงชีวิตของพืช พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51