LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์

usericon

ชื่อผลงาน รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
โรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4
ผู้ประเมิน นายสุริชัย จันทรพิทักษ์
ปีที่ประเมิน 2561

บทคัดย่อ
การวิจัยรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่งและ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) แบ่งเป็น 4 ระยะ ประชากร กลุ่มตัวอย่างและกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้คือ กลุ่มที่ 1) กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ใช้สำหรับศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้ของครู โรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง ซึ่งเป็นการวิจัยในระยะที่ 1 ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 9 คน คณะกรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 6 คนและผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 25 คน กลุ่มที่ 2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู ซึ่งเป็นการวิจัยในระยะที่ 2 ได้แก่ 2.1) ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครู ในกลุ่มโรงเรียนเขื่อนอุบลรัตน์ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 13 คน ครู จำนวน 263 คน และนักเรียนในกลุ่มโรงเรียนเขื่อนอุบลรัตน์ จำนวน 2,558 คน 2.2) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ครูผู้สอนจากโรงเรียนบ้านโคกสว่างและโรงเรียนบ้านทรัพย์สมบูรณ์โนนอินทร์แปลง จำนวน 20 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จากทั้ง 2 โรงเรียน จำนวน 180 คน และกลุ่มที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ที่ใช้ในการพัฒนาและใช้รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู ซึ่งเป็นการวิจัยในระยะที่ 3 ได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 9 คน ผู้บริหารโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง จำนวน 1 คน และนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัลของครู แบบสังเกตพฤติกรรมการสอน แบบบันทึกการให้ข้อมูลย้อนกลับ แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนต่อการนิเทศการสอนโดยผู้บริหาร แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการนิเทศการสอนโดยผู้บริหาร แบบวัดเจตคติ แบบวัดความพึงพอใจในรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู แบบสอบถามการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู ผลการวิจัย พบว่า    1) สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ของสภาพการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง พบว่าสภาพการปฏิบัติงานจริงโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
(µ = 3.63,  = 0.64) ซึ่งมีสภาพการปฏิบัติจริงต่ำสุด ได้แก่ การใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยในการจัดการเรียนรู้ รองลงมา การนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษากับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ และการสร้างและใช้สื่อช่วยในการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับและสภาพการปฏิบัติที่ควรจะเป็น อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.68,  = 0.49) ซึ่งมีสภาพการปฏิบัติที่ควรจะเป็นสูงสุด ได้แก่ การสร้างและใช้สื่อช่วยในการจัดการเรียนรู้กับการใช้สื่อเทคโนโลยีช่วยในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการเรียนรู้กับการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ และการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ตามลำดับ ซึ่งจากการประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า การใช้สื่อเทคโนโลยีจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษามีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNImodified = 46) รองลงมา การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified = 43) และการสร้างและใช้สื่อช่วยในการจัดการเรียนรู้ กับการนิเทศการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นเท่ากัน (PNImodified = 42) ตามลำดับ    
2) ผลการใช้รูปแบบฯ กับกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ชุดการเรียนรู้ที่ 1 สร้างความตระหนักและตรียมการ พบว่า ทำให้สามารถสร้างความตระหนักและทำให้ครูเกิดความรู้และทักษะความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นตามความต้องการได้เป็นอย่างดี ชุดการเรียนรู้ 2 พัฒนาครูรู้ดิจิทัลโดยการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ใช้คู่มือการรู้ดิจิทัล มีเอกสารคู่มือการรู้ดิจิทัลประกอบ ทำให้ครูเกิดต้องการได้รับความรู้และทักษะเกี่ยวกับการรู้ดิจิทัลต่างๆ ตามความต้องการจริงๆ และชุดการเรียนรู้ที่ 3 นิเทศการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การนิเทศการสอนโดยผู้บริหาร ได้มีการดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอนคือขั้นตอนเตรียมการ ขั้นตอนการปฏิบัติการและขั้นตอนประเมิน ทำให้ครูผู้สอนมีความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้ มีการประชุม สะท้อนผลการสอน รายงานข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูให้ทราบเป็นระยะเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนของตนเอง
3) ครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้รูปแบบฯ มาทำข้อสอบเรื่องการรู้ดิจิทัล ที่เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ สามารถทำคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัลสูงกว่าคะนนเฉลี่ยก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัล กล่าวคือ หลังหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัล คะแนนเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 34.20 คิดเป็นร้อยละ 85.50 และก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัล คะแนนเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 18.24 คิดเป็นร้อยละ 45.60 และผลการทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ย ของครูผู้สอนกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัล พบว่า ผลการเปรียบเทียบความตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนการทดสอบของครูผู้สอน หลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัลกับเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70) โดยการทดสอบค่าที (t-test) พบว่า ครูผู้สอนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาครูรู้ดิจิทัลสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
4) ความคิดเห็นในแบบวัดเจตคติ วัดความพึงพอใจในการใช้รูปแบบ ฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.62,  = 0.57) ข้อที่มีความพึงพอใจสูงที่สุด ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ช่วยให้ครูได้สร้างสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลที่หลากหลายใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน รองลงมา รูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูและรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติจริงกับรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ช่วยให้ครู ผู้บริหารและผู้ปกครองมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและร่วมมือกันพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามลำดับ
     5) ผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพ ด้านอรรถประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง ด้านความเหมาะสมและด้านความถูกต้องของรูปแบบการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของครู เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งโป่ง ที่ครอบคลุมประเด็นใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอรรถประโยชน์ (Utility) ด้านความเป็นไปได้ (Feasibility) ด้านความเหมาะสม (Property) และด้านความถูกต้อง (Accuracy) พบว่า ในภาพรวม รูปแบบฯ มีระดับคุณภาพในระดับมากที่สุด ( =4.68, SD=0.47) โดยมีผลการประเมินระดับคุณภาพในระดับมากที่สุดทุกด้าน ด้านที่มีผลคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ในระดับมากที่สุด คือด้านอรรถประโยชน์ (Utility) ( =4.68, S.D.=0.47) รองลงมาคือ ด้านความถูกต้อง (Accuracy) ( =4.65, S.D.=0.48) ด้านความเป็นไปได้ ในการปฏิบัติงานจริง(Feasibility) ในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D.=0.49) และด้านความเหมาะสม (Property) ( =4.59, S.D.=0.40) ในระดับมากที่สุดตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^