การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรี
รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้รายงาน นางสาวพรทิพย์ ปนสูงเนิน
ปีที่ศึกษา พ.ศ.2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เพือส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ3) ขยายผลรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 โรงเรียนเทศบาล ๓ (ยมราชสามัคคี) เป็นนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คือ รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คู่มือการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Asalysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ 4 ด้าน ที่ต้องคำนึงถึง ประกอบด้วย 1.ชุมชน 2.การจัดการเรียนรู้ 3.เทคโนโลยี และ 4.การประเมินผล รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ เป็นการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 4 ด้าน จัดการเรียนรู้ตามขั้นตอน PACEP ซึ่งผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติจริงและแก้ปัญหาที่พบในแหล่งเรียนรู้ของชุมชนด้วยการเรียนรู้ที่หลากหลายและได้ชิ้นงานที่สร้างสรรค์ 2) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ PACEP ประกอบด้วย (1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparing: P) (2) ขั้นเรียนรู้โดยตรง (Active learning: A) (3) สรุปเป็นองค์ความรู้ที่ได้รับ(Conclusion: C) (4) ขั้นประเมินผลและปรับปรุง (Evaluate the improvement : E) ขั้นที่ 5 นำเสนอและเผยแพร่(Publish : P) ประเมินภาพรวมของรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” จากการสะท้อนคิดของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย และ 5) เงื่อนไขในการนำรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” ไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ (1) ชุมชน ให้การส่งเสริม สนับสนุนและมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน (2)ผู้เรียนลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ฝึกการคิดและการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จริงที่พบในชุมชน และ (3) การยืดหยุ่นเวลาในการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมนอกห้องเรียน พบว่า รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.28/83.67
2. ประสิทธิผลของรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า 2.1) หลังเรียนตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” นักเรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุดคือ การใช้เทคโนโลยีสร้างชิ้นงานจากจินตนาการหรืองานที่ทำในชีวิตประจำวันอย่างมีจิตสำนึกและรับผิดชอบ และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหา
3. ผลการขยายผลรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี พบว่า หลังเรียนตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน”รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี นักเรียนมีทักษะการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง “โคราช: ดินแดนวีรสตรีศรีอีสาน” รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก