เทคนิค K-W-D-L
ใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย นางสาววิจิตตรา อุดเมืองเพีย
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านโคกสูงวิทยานุxxxล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ปีที่วิจัย 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ (1)เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิคK-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 มีค่าดัชนีประสิทธิผล ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนก่อน และหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อน และหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกสูงวิทยานุxxxล อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 8 คน เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง บทประยุกต์ ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 13 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยได้ใช้เทคนิค K-W-D-L เป็นแนวทางในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 13 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบทดสอบ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 13 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ จำนวน 6 ข้อ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนจำนวน 10 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านโคกสูงวิทยานุxxxล กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา โดยเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้เยาวชนทุกคนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิตตามศักยภาพ พัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบสามารถวิเคราะห์หรือแก้ไขปัญหาได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ มาตรฐานและตัวชี้วัดมาตรฐาน ค 1.2 เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่าง การดำเนินการต่าง ๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหามาตรฐาน ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย ทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยมีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความสนใจของผู้เรียน มีการวัดผลประเมินผลก่อนและหลังการเรียนรู้ เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงและพัฒนาผลการเรียนรู้ การศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L การสอนโดยใช้เทคนิค K-W-D-L ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ทบทวนความรู้เดิมโดยการยกสถานการณ์ปัญหาในเรื่องที่เรียนมาแล้วสนทนาซักถามนักเรียนให้ร่วมกันตอบคำถาม และแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ และบทบาทการทำงานกลุ่ม 2) ขั้นสอนเนื้อหาใหม่ ครูนำเสนอโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียนทั้งชั้น แล้วให้นักเรียนร่วมกันอ่านโจทย์ และแก้ปัญหาตามแผนผัง K-W-D-L นักเรียนฝึกปฏิบัติเป็นกลุ่มย่อยโดยครูคอยแนะนำ ด้วยการแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆละ 4-5 คน ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรม K-W-D-L 3) ขั้นฝึกทักษะโดยอิสระ ให้เรียนร่วมกันทำแบบฝึกทักษะที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนโดยตรง และในสถานการณ์อื่นๆ ที่แตกต่างๆจากตัวอย่าง เพื่อฝึกทักษะการนำไปใช้ 4) ขั้นสรุปบทเรียน ครูกับนักเรียนร่วมกันสรุปเป็นความรู้ที่ได้การเรียน 5) ขั้นประเมินผล ตรวจผลงานกลุ่มและแบบฝึกหัด ความต้องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความต้องการในลำดับมากที่สุดดังนี้ ด้านลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ คือ มีการเรียนรู้เป็นกลุ่ม มีกิจกรรมฝึกให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมเป็นลำดับขั้นตอน และมีนิทานประกอบกิจกรรม นักเรียนต้องการเท่ากัน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ การจัดกิจกรรมกลุ่มฝึกปฏิบัติ ด้านสื่อ คือ เพลง นิทานหรือหนังสืออ่านเพิ่มเติม คือ การทดสอบแบบปรนัย ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่าครูผู้สอนต้องการรูปแบบของการจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ฝึกให้ผู้เรียนได้คิด วิเคราะห์ แก้โจทย์ปัญหาได้ การจัดการเรียนการสอนทั้งแบบกลุ่ม และแบบรายบุคคล มีสื่อการสอนที่หลากหลาย เช่น เพลง นิทานหรือหนังสืออ่านเพิ่มเติม เกม แบบฝึกหัด ใบงาน ใบความรู้ สื่อสิ่งพิมพ์ และบัตรภาพ เป็นต้น มีต้องการให้มีการวัดและประเมินผลโดยใช้แบบฝึกหัด แบบสังเกตและแบบทดสอบ ซึ่งมีทั้งประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นระถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 78.71/79.58 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ เกณฑ์ประสิทธิผลที่ 0.65
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อน และหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อน และหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
5. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค K-W-D-L เรื่อง บทประยุกต์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.29