การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL plus ร่วม
ผู้วิจัย : นางสาววารุณี หนองห้าง
หน่วยงาน โรงเรียนหนองห้างพิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
โดยใช้เทคนิค KWL plus ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ดอกซ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการคิด และกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 4 2)เพื่อทดลองใช้และศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค
KWL plus ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ดอกซ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการคิด และกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 4 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้ 2.1) ศึกษาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL plus ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ดอกซ์ โดยนักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจร้อยละ 70 ขึ้นไป 2.2) ศึกษาทักษะการคิดของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL plus ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ดอกซ์ โดยนักเรียนร้อยละ 70 มีคะแนนทักษะการคิดร้อยละ 70 ขึ้นไป 2.3) เพื่อศึกษากระบวนการกลุ่มของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ ดอกซ์ และ 2.4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL plus ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ ดอกซ์ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL plus ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ดอกซ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ ทักษะการคิด และกระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 4 การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเฉพาะกรณีโดยให้การทดลอง 1 ครั้ง (One – Shot Case Study) กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนหนองห้างพิทยา อำเภอฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 20 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL plus ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ดอกซ์ 2) แบบทดสอบวัดการอ่านเพื่อความเข้าใจ 3) แบบประเมินทักษะการคิด และ 4) แบบประเมินกระบวนการกลุ่ม และ 5)แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค KWL plus ร่วมกับวิธีการสอนของ เมอร์ดอกซ์ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ หลักการตอบสนอง ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม 5 ขั้นตอน คือ ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Reviewing Knowledge :R) ขั้นการทำความเข้าใจคำศัพท์ (Understanding Vocabulary : U ) ขั้นอ่านเนื้อเรื่องหรือบทอ่าน (Reading the text :R ) ขั้นถ่ายโอนข้อมูล (Transferring to Mapping : T ) และขั้นสรุปและประเมินผล (Summarizing : S ) ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 78.44/77.04
2. ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ
การเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค KWL plus ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ดอกซ์ มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 75 และมีคะแนนรวมเฉลี่ยเท่ากับ 21.95 คิดเป็นร้อยละ73.17 เมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่าผ่านเกณฑ์ทั้งจำนวนนักเรียนและคะแนน
3. คะแนนความสามารถด้านทักษะการคิดของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบ
การเรียนการสอนโดยใช้เทคนิค KWL plus ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ดอกซ์ มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 75 และมีคะแนนรวมเฉลี่ยเท่ากับ 22.40 คิดเป็นร้อยละ 74.67 เมื่อนำไปเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 พบว่าผ่านเกณฑ์ทั้งจำนวนนักเรียนและคะแนน
4. กระบวนการกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 4 โรงเรียนหนองห้างพิทยา ที่
ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ดอกซ์ อยู่ในระดับดี
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค KWL
plus ร่วมกับวิธีการสอนของเมอร์ดอกซ์ อยู่ในระดับมาก