ผลการใช้ชุดฝึกกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้
๑. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เป็นหลักสูตรสำหรับท้องถิ่นและสถานศึกษานำไปใช้เป็นกรอบในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงพร้อมทั้งแสวงหาความรู้ตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ยังได้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นผลคาดหวังที่ต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจน สามารถช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับท้องถิ่นและสถานศึกษาร่วมกันพัฒนาหลักสูตรได้อย่างมั่นใจ ทำให้การจัดทำหลักสูตรในระดับสถานศึกษามีคุณภาพและมีความเป็นเอกภาพยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความชัดเจน เรื่องการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้และช่วยแก้ปัญหาการเทียบโอนระหว่างสถานศึกษา ดังนั้นในการพัฒนาหลักสูตรในทุกระดับตั้งแต่ระดับชาติจนกระทั่งถึงสถานศึกษา จะต้องสะท้อนคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งเป็นกรอบทิศทางในการจัดการศึกษาทุกรูปแบบและครอบคลุมผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการจัดหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายคาดหวังได้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัวและบุคคลต้องร่วมรับผิดชอบ โดยร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องในการวางแผนดำเนินการส่งเสริมสนับสนุน ตรวจสอบตลอดจนปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาเยาวชนของชาติ ไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อพัฒนาชุดฝึกกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ มหัศจรรย์การสร้างสรรค์ภาพ
ปะติดจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๒.๒ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระศิลปะ (ทัศนศิลป์) เรื่องมหัศจรรย์
การสร้างสรรค์ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
(ทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดฝึกกิจกรรมเสริมการจัดการเรียนรู้
๒.๓ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถของการปฏิบัติงาน การสร้างสรรค์ภาพปะติดจากวัสดุ
ธรรมชาติในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกกิจกรรมเสริมการจัดการเรียนรู้
๒.๔ เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีต่อชุดกิจกรรมการ
จัดการเรียนรู้ ประติมากรรมกระดาษ สีสันใต้ท้องทะเล กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) โดยใช้ชุดฝึกกิจกรรมเสริมการจัดการเรียนรู้
ผู้รายงานเกิดความมุ่งมั่นที่จะศึกษาและผลิตเอกสารชุดกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นนี้ขึ้นมา เพื่อรวบรวมเทคนิค วิธีการนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียน โดยมุ่งหวังจะพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านวิชาศิลปะให้สูงขึ้น จึงเลือกใช้นวัตกรรมในรูปแบบชุดกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว สอดคล้องกับ สมชาย แก้วประกอบ (๒๕๕๓ : ๒) ครูผู้สอนควรใช้สื่อการสอนและจัดประสบการณ์ที่หลากหลาย การจัดกิจกรรมด้านทัศนศิลป์ ครูผู้สอนจำเป็นต้องออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับการสริมสร้างศักยภาพของแต่ละบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนได้เติบโตเติมศักยภาพ เป็นการรองรับการพัฒนาและส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ เก่ง ดี มีสุข เป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการศึกษานี้ผู้รายงานได้นำชุดฝึกกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ มหัศจรรย์การสร้างสรรค์ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนบ้านลางสาด เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอนวิชาศิลปะ (ทัศนศิลป์) ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลแก่ผู้เรียนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนลดปัญหาขยะที่เป็นเศษวัสดุธรรมชาติในโรงเรียนบ้านลางสาดอีกด้วย
ผลจาการศึกษา
๓.๑ ชุดฝึกกิจกรรมเสริมการจัดการเรียนรู้ มหัศจรรย์การสร้างสรรค์ภาพปะติดจากวัสดุ
ธรรมชาติในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๓.๒ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่เรียนโดยใช้ชุดฝึก
กิจกรรมเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ มหัศจรรย์การสร้างสรรค์ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
๓.๓ ความสามารถของการปฏิบัติงานการสร้างสรรค์ภาพปะติดของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๕ โดยใช้ชุดฝึกกิจกรรมเสริมทักษะการจัดการเรียนรู้ มหัศจรรย์การสร้างสรรค์ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
๓.๔ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกกิจกรรมเสริมทักษะ
การจัดการเรียนรู้ ชุดมหัศจรรย์การสร้างสรรค์ภาพปะติดจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (ทัศนศิลป์) อยู่ในระดับมากที่สุด