เรื่อง การหารชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางจิราภรณ์ นามเชียงใต้ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านคันธาร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
ปีที่วิจัย 2555
บทคัดย่อ
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิต การวิจัยพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย แบบฝึกทักษะช่วยพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น การให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึกมาก ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ในเนื้อหาได้ดีขึ้น และการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ STAD เป็นเทคนิคที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ซึ่งสมาชิกในกลุ่มมีความรู้ต่างกัน คนที่เรียนเก่งจะได้ช่วยเหลือคนที่อ่อนกว่า ทำให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อน-หลัง การร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนบ้านคันธาร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ จำนวน 11 ชุด คู่มือการใช้และพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 033-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบสมมติฐาน t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ควรใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.52/82.15
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.60
5. นักเรียนมีความพึงพอใจที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการวิจัย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ (STAD) เรื่อง การหาร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ และทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานกลุ่ม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เนื้อหาเรื่องอื่น ๆ และในระดับชั้นต่าง ๆ ต่อไป