การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอ 3 โดยใช้ชุดการสอน
โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้ศึกษา นางสาวราตรี เพ็งแจ่ม
โรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ Pre – Experimental Design โดยใช้รูปแบบการศึกษาเป็น แบบ One Group Pretest – Posttest Design มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 มีประสิทธิ์ภาพถึง 80/80 2. เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 3. เพื่อเปรียบเทียบทางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนการเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นจำนวน 25 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1. แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ที่ผู้ศึกษาได้จัดทำและพัฒนาขึ้นเองจำนวน 20 แผน รวมเวลาเรียน 10 ชั่วโมง 2. ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กอนุบาล 3 3. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ แบบทดสอบก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.26- 0.80 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22 –0.65 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของของชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 เป็น 83.60/86.30 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ของชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 หลังจากที่นักเรียนได้เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 แล้วนักเรียนมีความก้าวหน้าทางพัฒนาการของความรู้เพิ่มขึ้นเท่ากับ 0.769
3. คะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 สูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05