LASTEST NEWS

04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567ด่วน!!! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบตำรวจ 1,530 อัตรา รับสมัคร 12-20 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567

การยกระดับผลสัมฤทธิ์เพื่อศิษย์ที่แท้จริง

usericon

การยกระดับผลสัมฤทธิ์เพื่อศิษย์ที่แท้จริง
                                 โดย นางสาวภัตราภรณ์ คงทรัพย์
    “การศึกษาเป็นเรื่องอันสำคัญในการพัฒนาความรู้ ความคิด ความประพฤติ ทัศนคติ ค่านิยมและคุณธรรมของบุคคล เพื่อให้เป็นพลเมืองที่ดีและมีคุณภาพ …” (พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช) ดังนั้นคุณภาพการศึกษาจึงสะท้อนถึงคุณภาพของคนที่เป็นผลิตผลของการจัดการศึกษา
    จากผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O – NET ) ปีการศึกษา 2559 พบว่ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับประเทศ แม้ว่าในกลุ่มสาระอื่นจะมีคะแนนสูงกว่า แต่ไม่สามารถรักษาระดับค่าเฉลี่ยได้ มีคำถามมากมายเกี่ยวกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ “ ทำอย่างไรจึงจะสามารถรักษาระดับค่าเฉลี่ยในทุกกลุ่มสาระให้สูงกว่าระดับประเทศและเขตพื้นที่การศึกษา ในทุกปีการศึกษา และให้ผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้ที่คงทน” ด้วยเหตุนี้หน่วยงานระดับนโยบายถึงระดับถานศึกษาซึ่งเป็นระดับปฏิบัติ จึงได้ให้ความสำคัญต่อคุณภาพการศึกษาให้เป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร
    เพื่อให้การศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยมีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล บนพื้นฐานของความเป็นไทย ให้นักเรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพสูงสุด มีความรู้และทักษะที่แข็งแกร่งและเหมาะสมเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ระดับสูงขึ้นไป และการดำรงชีวิตในอนาคต สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจุดเน้นด้านผู้เรียนที่เกี่ยวของกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ นักเรียนมีสมรรถนะสำคัญสู่มาตรฐานสากล โดยนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 3
    ดังนั้น ในแต่ละโรงเรียนจึงได้กำหนดนโยบาย เป้าหมายในการพัฒนา คือการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้ตั้งเป้าหมายการยกระดับสอดคล้องกับเป้าหมายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงถือว่าการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของสถานศึกษา ซึงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามีบทบาทหลักในการสนับสนุน ส่งเสริม อำนวยการ ให้โรงเรียนได้ดำเนินการเพื่อพัฒนานักเรียนทุกคนที่ได้เข้าเรียนและจบการศึกษาอย่างมีคุณภาพ และคุณภาพสูงตามเกณฑ์ เป้าหมาย และมาตรฐานของหลักสูตรให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพเป็นรายบุคคลและทุกคน
    รศ.ดร. สุพักตร์ พิบูลย์ จากมหาวิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (http//www..gotoknow.ovg/blog/sur001/278591) ได้เสนอแนวคิดในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แนวคิด Empowerment Approach และ Theory – Driven Approach ไว้น่าสนใจมาก ดังมีรายละเอียดของกระบวนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พอสรุปได้ดังนี้
    ขั้นที่ 1 Taking Stock คือการตรวจสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือผลการประเมินคุณภาพโรงเรียน เพื่อวิเคราะห์ว่าโรงเรียนเรามีคุณภาพมากน้อยเพียงใด เป็นการวิเคราะห์และจัดทำฐานข้อมูล (Baseline) เช่นการพิจารณาผลการสอบO-NET NT หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนประจำปีของสถานศึกษา
    ขั้นที่ 2 Setting Goal เป็นการกำหนดเป้าหมายความสำเร็จ เช่น ภายในปี 2560 เราต้องมี
        1. ผลการประเมินคุณภาพภายในระดับดีมาก
        2. กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักอย่างน้อยร้อยละ 90 อยู่ในระดับดีมาก
        3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉพาะการประเมิน O-NET จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 ของฐานเดิม
    ขั้นที่ 3 Developing Strategies and Implementing มุ่งพัฒนากลยุทธ์แล้วนำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ตัวอย่างของกลยุทธ์ เช่น
        1.ขับเคลื่อนห้องเรียนคุณภาพหรือประกันคุณภาพแต่ละรายวิชา แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ แม้แต่ครูทุกคนต้องตั้งเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพและดำเนินการยกระดับคุณภาพให้ได้ตามเป้าหมาย ดังนั้นการนิยามว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ก็คือ ผู้ที่ทำงานสำเร็จ ใครสามารถทำผลงานปีนี้ได้ดีกว่าปีที่แล้ว เรียกว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
        2. ปฏิรูปการบริหารจัดการห้องเรียนประจำชั้น
        3. การบริหารจัดการสถานศึกษาที่เน้นการขับเคลื่อนเชิงทฤษฎีอย่างเป็นระบบตามกรอบหลักวิชาการ
        4. Documenting Progress เป็นขั้นตอนการประเมินรวบรวมเอกสารหลักฐานที่แสดงถึงความก้าวหน้าของงานตามเป้าหมาย
    ทั้งนี้การดำเนินงานแต่ละขั้นตอนเน้น การมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้อง ฝ่ายต่างๆเช่น คณะกรรมการสถานศึกษา
    นอกจากนี้ ดร.จันทมา นนทิกร (http://info.thaihealth.or.th/library/hot/12444) โดยโครงการพัฒนาโรงเรียนเข้มแข็งด้วยการจัดการความรู้(Healthy School By Knowledge Management) มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้(มสรว.)ได้สังเคราะห์วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ(Best Practices) เรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจาก 16โรงเรียนดีเด่นแล้วจำแนกเป็นประเด็นหลักเพื่ออธิบายวิธีปฏิบัติดังนี้
    1.การบริหารจัดการเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีวิธีการดำเนินการดังนี้
        1.1 การจัดการความรู้เพื่อกำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน
        1.2 การวิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
        1.3 การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนากระบวนการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
        1.4 การนิเทศภายในแบบกัลยาณมิตร
        1.5 การประสานงานกับผู้ปกครองเพื่อเฝ้าระวังและติดตามแก้ไขปัญหา
    2. วิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดำเนินการได้ 3รูปแบบ คือ
    รูปแบบที่ 1 การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นตามเกณฑ์ที่คาดหวัง มีวิธีการดำเนินการ ดังนี้
    1. การปรับเปลี่ยนท่าทีของครูในการจัดการเรียนรู้
    2. การกำหนดเกณฑ์ที่คาดหวังและเกณฑ์การประเมินผล
    3. การจัดกลุ่มผู้เรียนที่เหมาะสม
    4. การกำหนดรูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้และการจัดกิจกรรม
    รูปแบบที่ 2 การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
    1. การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนพิเศษ
    2.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศ
    รูปแบบที่ 3 การช่วยเหลือนักเรียนพิเศษ
    1. การช่วยเหลือนักเรียนที่บกพร่องทางการเรียนรู้
    2. การพัฒนานักเรียนที่มีความเป็นเลิศให้เต็มตามศักยภาพ
    3. การจัดหลักสูตรนอกระบบ
    เป็นการจัดหลักสูตรเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์โดยไม่ติดระบบปกติซึ่งอาจใช้นวัตกรรมในการบริหารและการดำเนินการ
แนวคิดหลักการในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนนี้ ต้องวางแผนการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบเชื่อมประสานกันทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนก็ต้องทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ หากโรงเรียนดำเนินการอย่างเป็นระบบร่วมมือกันอย่างแท้จริง เป้าหมายที่กำหนดที่ตั้งจะเป็นเป้าหมายที่ควรค่าแก่การฝ่าฟันเพื่อผลที่เกิดกับผู้เรียน/ศิษย์อย่างแท้จริง
        













ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^