รบกวนเผยแพร่ผลงานวิชาการค่ะ
ประกอบการใช้เทคนิคร่วมมือเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางสาวศิริรันชนิภา ศิริชยพัทธ์
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค โดยใช้เทคนิคร่วมมือเรียนรู้ ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและ พัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค โดยใช้เทคนิคร่วมมือเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะภาษาไทย โดยใช้เทคนิคร่วมมือเรียนรู้ เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทยเรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะภาษาไทย จำนวน 12 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ .29 -.80 ค่าความยากง่ายมีค่าตั้งแต่ .24-.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design สถิติที่ใช้ในการจัดกระทำข้อมูลประกอบด้วย สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยล่ะ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึก เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 81.45/82.36 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการใช้เทคนิคร่วมมือเรียนรู้ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึก เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 0.6450 หมายความว่า แบบฝึกทักษะ เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยคนี้ทำให้ นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มสูงขึ้นคิดเป็นร้อยละ 64.50