การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา
ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหา
ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย : นายพงศ์ชาติ อิ่มนุกุลกิจ
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาอยู่ใน\ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม \ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random \Sampling) โดยการจับฉลาก จำนวน 1 ห้องเรียน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 24 คน เนื่องจากโรงเรียนจัดห้องเรียนโดยคละความสามารถของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( overline{mbox{X}} ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน left(mbox{S.D.}right) ค่าร้อยละ left(text{%}right) และสถิติที (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01**
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
3. ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01**
4. ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเชิงซ้อน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก