การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โดยการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
ชื่อผู้ศึกษา : นางหนึ่งฤทัย สินทบทอง
ปีที่ศึกษา : 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม เนื้อหาที่นำมาสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องทศนิยม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test)
ผลการวิจัย
1.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า “ MPSPE Model ” เอ็มพีเอสพี โมเดล โดยมีองค์ประกอบดังนี้ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ สาระการเรียนรู้ขั้นตอนการเรียนการสอน และการประเมินผลรูปแบบ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการสอน 5 ขั้นตอน คือ
เอ็มพีเอสพี (MPSPE Model)
ขั้นที่ 1 กระตุ้นด้วยปัญหา (Motivation :M)
ขั้นที่ 2 สร้างเสริมภูมิปัญญา (Presentation: P)
ขั้นที่ 3 ร่วมค้นคว้าเรียนรู้ (Sharing :S)
ขั้นที่ 4 ค้นหาดูตัวตน ( Practice :P )
ขั้นที่ 5 ประเมินผลการเรียน(Enumeration :E)
1. ตรวจสอบความสอดคล้องรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยมีผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนมีความสอดคล้องกัน
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ MPSPE Model โดยการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ MPSPE Modelโดยการสื่อสารและการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจรายด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน