LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข”

การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย

usericon

        การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย โดยสอบถามความต้องการของผู้บริหาร จำนวน 6 คน และครูผู้สอน จำนวน 22 คน 2) สร้างรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย โดยตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบ ด้วยกระบวนการประชุมกลุ่ม (focus group) อิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ใช้วิธีการสรรหาโดยกำหนดคุณสมบัติ เครื่องมือ ที่ใช้ คือ ร่างรูปแบบ และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ทดลองและประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้องของในทางปฏิบัติจริงของรูปแบบ ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบ และแบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการพรรณนาวิเคราะห์ (content analysis) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย เป็นโรงเรียนทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 1 โรงเรียน และ 4) การประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน และครูผู้สอนที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย จำนวน 18 คน รวมตัวอย่างทั้งหมด 23 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง กำหนดตามลักษณะขนาดสถานศึกษา ดังนี้ 1) ขนาดเล็ก 2) ขนาดกลาง และ 3) ขนาดใหญ่ เครื่องมือที่ใช้ คือ รูปแบบ และแบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการพรรณนาวิเคราะห์ (content analysis)
        ผลการวิจัย พบว่า
        1) การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย พบว่า 1.1) สถานศึกษามีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา จัดให้มีการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพการศึกษา จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา และจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ และการจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง และ 1.2) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรในสถานศึกษาขาดความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เครื่องมือในการดำเนินงาน ไม่หลากหลาย ขาดรูปแบบและแนวทางที่ดีในการดำเนินงาน ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาขาดความตระหนักและให้ความสำคัญ
        2) รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย พบว่า 2.1) รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 เข้าใจ ประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพการศึกษา (QA) รายานผลการประเมินตนเอง (SAR) และแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ขั้นตอนที่ 2 เข้าถึง ประกอบด้วย วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกภายใน (SWOT) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (SDQ) จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา และพัฒนาหลักสูตร และขั้นตอนที่ 3 พัฒนา และ 2.2) ประกอบด้วย บริหารงาน/โครงการ (PDCA) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (SDQ) และนิเทศภายใน โดยใช้คู่มือการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย มีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ คำชี้แจง การใช้คู่มือเนื้อหา แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 บทนำ ส่วนที่ 2 แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และส่วนที่ 3 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ซึ่งมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติจริงในระดับมาก
        3) รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัย เมื่อนำไปทดลองใช้ในจริง พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนสามารถปฏิบัติตามรูปแบบที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความพึงพอใจมาก และ
        4) ผลการประเมินรูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ และความถูกต้อง อยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^