การพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เด็กปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
ผู้วิจัย นายเดชาพัชร การกิ่งไพร
ปีวิจัย ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน บริบทและสภาพแวดล้อมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ และ4) เพื่อประเมินรูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) จำนวน 36 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 539 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา ด้านการบริหารสถานศึกษา และด้านการจัดการเรียนการสอน จำนวน 15 คน ได้จากวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองของครูผู้สอน แบบประเมินพัฒนาการของครู แบบประเมินคุณลักษณะในการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็กปฐมวัยและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริหารด้วยรูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน บริบท สภาพแวดล้อมวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ พบว่า ครูผู้สอนต้องการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. รูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่สร้างและพัฒนาขึ้นมีชื่อว่า M SSES Model มีองค์ประกอบ จำนวน 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหาร (Management : M) ด้านกลยุทธ์ (Strategy Management : S) ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self of Learning : S) ด้านการประเมินผล (Evaluation : E) และด้านความพึงพอใจ (Satisfaction : S) โดยผลการตรวจสอบความเหมาะสมและนำไปใช้ได้ของรูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง พบว่า มีความเหมาะสมและนำไปใช้ได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาทั้งตัวรูปแบบและองค์ประกอบพบว่า ทั้งรูปแบบและองค์ประกอบมีความเหมาะสมและนำไปใช้ได้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ตัวรูปแบบ รองลงมาคือ องค์ประกอบด้านความพึงพอใจ องค์ประกอบด้านการบริหาร ด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง และด้านการประเมินผล ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ทุกข้อมีความเหมาะสมและนำไปใช้ได้
3. การทดลองใช้รูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า โดยรวมครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาทั้งด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการประเมินผลครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย ปีการศึกษา 2560 สูงกว่าปีการศึกษา 2559 คิดเป็นร้อยละ 11.96 โดย ผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย ทุกชั้นเรียนปีการศึกษา 2560 สูงกว่าปีการศึกษา 2559 อยู่ระหว่าง 4.24 – 11.96 โดยรวมเด็กมีคุณลักษณะในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองของ อยู่ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาทั้งด้านการวางแผนการเรียนรู้ ด้านการเลือกวิธีการเรียนรู้ ด้านการแสวงหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ ด้านการควบคุมตนเอง ด้านการประเมินผลและทุกข้อนักเรียนมีคุณลักษณะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับดีมาก โดยรวมผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการบริหารโรงเรียนด้วยรูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาทั้งด้านการบริหาร ด้านการกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านการประเมินผล ด้านความพึงพอใจและทุกข้อผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการบริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
4. การประเมินรูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดภูเขาดิน) เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่มีชื่อว่า MSSES Model พบว่า โดยรวมรูปแบบกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาทั้งรูปแบบกลยุทธ์และองค์ประกอบ พบว่า ทั้งรูปแบบกลยุทธ์ องค์ประกอบและทุกข้อมีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด