LASTEST NEWS

08 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 08 ต.ค. 2567ครูสายผู้สอน ที่จะไปสอบผอ.โรงเรียนในรอบถัดไป ความหวังเริ่มริบหรี่ ก.ค.ศ. ออกเกณฑ์สกัดดาวรุ่ง ต้องเป็นรองผอ.ชำนาญการพิเศษ 2 ปี หรือตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า 08 ต.ค. 2567ก.ค.ศ. ออกหนังสือแจ้ง ว 19/2567 มาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 08 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด! ที่ ศธ 04277/ว 1057 เรื่อง กำชับแนวทางปฏิบัติในการพานักเรียนไปนอกสถานศึกษา 08 ต.ค. 2567(8 ต.ค.2567) เปิดรายชื่อ 74 เขตพื้นที่ฯ ยังไม่ประกาศผลการพิจารณาย้ายครู ประจำปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 ต้องประกาศภายใน 23.59 น. ของวันที่ 15 ต.ค.67 08 ต.ค. 2567สพม.นครสวรรค์ เผยแพร่ข้อมูลการเรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชี ปี 2566 และ บัญชี ปี 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2567 08 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง นักวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดประชานาถ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 11 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 14 - 18 ตุลาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะ
         การอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียน
         ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย         นางพีรภรณ์ บุญสมพร
ปีการศึกษา     2560

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ หนังสือนิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสม แบบทดสอบ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัย พบว่า
        ตอนที่ 1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ภาษาไทยนั้นเป็นภาษาแม่ของคนทั้งชาติเป็นทั้งศิลปวัฒนธรรม และเป็นเอกลักษณ์อันสำคัญยิ่ง แต่นักเรียนที่เป็นคนไทยกลับอ่านหนังสือไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง พูดไม่ชัดเจนแม้จะจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้วก็ยังมีอีกจำนวนมากที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กสมัยนี้ไม่ชอบอ่านหนังสือ ซึ่งสาเหตุให้เด็กไม่ชอบอ่านหนังสืออาจเป็นเพราะสื่อมวลชนด้านต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ เหล่านี้ล้วนแต่อำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้เรียนรู้และทราบข่าวสารได้รวดเร็ว จึงทำให้เด็ก ๆ สูญเสียเวลาที่ควรจะอ่านหนังสือบ้าง เด็กที่ไม่ชอบอ่านหนังสือก็จะทำให้มีผลต่อสติปัญญาที่ไม่มีการพัฒนาไปด้วยเช่นกัน
        ตอนที่ 2 ผลการสร้างและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “WLPEA Model” ประกอบด้วยกระบวน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Worm Up) 2) ขั้นเรียนรู้เรื่องราว (Learning about) 3) ขั้นการฝึก (Practice) 4) ขั้นประเมินความรู้ (Evaluation) และ 5) ขั้นการนำไปใช้ (Application) มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สิ่งที่เสริมสร้างการเรียนรู้ และเงื่อนไขในการใช้รูปแบบการเรียนรู้ ผลการประเมินความเหมาะสมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า รูปแบบการเรียนรู้โดยภาพรวม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
        ตอนที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.88/84.12 เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่า สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
        ตอนที่ 4 ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้นิทานพื้นบ้านปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความพึงพอใจต่อการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้นิทานพื้นบ้าน ปักษ์ใต้บ้านเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด























Title:                     The Development of Learning Management Model based on
                    the Concepts of Active Learning to Develop Thai Reading and
                    Writing Skills through Folktale, “Paktai, our home” for
                    Prathomsuksa 3 students.                      
Researcher:            Mrs.Peeraporn Bunsomporn
Academic Year:     2017
    
Abstract

    The purposes of the research were 1) to study the basic information on the development of learning management model based on the concepts of active learning to Develop Thai Reading and writing skills through folktale, “Paktai, our home” for Prathomsuksa 3 students. 2) to create and develop learning management model based on the concepts of active learning to Develop Thai Reading and writing skills through folktale, “Paktai, our home” for Prathomsuksa 3 students. 3) to try out the learning management model based on the concepts of active learning to Develop Thai Reading and writing skills through folktale, “Paktai, our home” for Prathomsuksa 3 students and 4) to evaluate the usage of the learning management model based on the concepts of active learning to Develop Thai Reading and writing skills through folktale, “Paktai, our home” for Prathomsuksa 3 students. The sampling group comprised 33 Prathomsuksa students, class 3/2, Municipality school 1, (Udomthong Community), affiliated with education division, Tapong sub-district municipality, Hat Yai district, Songkhla. The research tools consisted of the folktale book named “Paktai, our home”, interview, appropriation test, test and satisfaction form. The statistic used percentage, mean and standard deviation, dependent samples t-test and content analysis.

    The results of the research were as follows:
        Part 1 From the study of basic information on the development of learning management model based on the concepts of active learning to Develop Thai Reading and writing skills through folktale, “Paktai, our home” for Prathomsuksa 3 students, found that Thai language is a mother tongue or native language, its art and culture including identity are precious. On the other hand, Thai students were lacking of the fluency in reading and writing skills. Moreover, they didn’t speak clearly even after graduated Prathomsuksa 6. A lot of students were illegible and misspelled Thai language. Besides, these days children don’t like reading as result of an influence from these facilities as follow; various mass media, television, video and computer to name a few. Current fast news from different sources were directly served to students thus they mostly wasted time in reading. Children who do not like to read books will affect their intelligence ability that cannot be developed as well.
        Part 2 The result of the creation and development in learning management model based on the concepts of active learning to Develop Thai Reading and writing skills through folktale, “Paktai, our home” for Prathomsuksa 3 students which was developed, called “WLPEA Model”, consisted of learning activities process, divided into 5 steps as follow; 1) Warm up 2) Learning 3) Practice 4) Evaluation and 5)Application, which consisted of principle factors as follows: principle, objective, learning activity process, promoting students’ learning factors and condition of using learning model. The testing result has confirmed this learning management model as “appropriate and possible” at the highest level.
        Part 3 The tryout result of using learning management model based on the concepts of active learning to Develop Thai Reading and writing skills through folktale, “Paktai, our home” for Prathomsuksa 3 students was efficaciously at 85.88/84.12, revealed higher 80/80 than the specified criterion.
        Part 4 The result of using learning management model based on the concepts of active learning to Develop Thai Reading and writing skills through folktale, “Paktai, our home” for Prathomsuksa 3 students, found that, had higher grade point average of learning achievement statistically significant at .05. The result of students’ satisfaction towards the tryout of learning management model based on the concepts of active learning to Develop Thai Reading and writing skills through folktale, “Paktai, our home” for Prathomsuksa 3 students in overall was at the highest level.

    


    

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^