รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบร่วมมือ (วรฉาย ทองคำ)
ผู้วิจัย วรฉาย ทองคำ
ปีที่ทำการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ และ 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ มีวิธีวิจัย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษา โดยดำเนินการสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารเชิงกลยุทธ์โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ออกแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างนำไปสัมภาษณ์โรงเรียนจำนวน 8 แห่ง นำข้อมูลที่ได้การสังเคราะห์เนื้อหามายกร่างเป็นร่างรูปแบบ ตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการนำร่างรูปแบบมาจัดสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โดยสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 342 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.980 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ตอนที่ 4 ประเมินผลการนำรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการไปทดลองใช้ วิเคราะห์ผลโดยการเปรียบเทียบคะแนน ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบร่วมมือของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ (CSM Model) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1.ร่วมวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (E) 2.สานพลังกำหนดกลยุทธ์ (A) 3.ขับเคลื่อนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (I) 4.สร้างมาตรการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ (CE )
2. ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ โดยวัดจากคุณภาพการศึกษาตาม มาตรฐานที่ 5 ด้านผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร 5 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1.ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตามเกณฑ์ของนักเรียน 2.มีผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์ของนักเรียน 3.สามารถสื่อความคิดผ่านการพูด เขียนหรือนำเสนอด้วยวิธีการต่างๆของนักเรียน 4.สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และ 5. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนทั้ง 5 ตัวชี้วัด พบว่าคะแนนผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปี 2562 มีคะแนนเพิ่มขึ้นกว่า ปี 2561 และคะแนนผลการทดสอบรวบยอดระดับชาติเฉลี่ยตามเกณฑ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปี 2562 มีคะแนนเพิ่มขึ้นกว่าปี 2561