LASTEST NEWS

08 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 ต.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 08 ต.ค. 2567ครูสายผู้สอน ที่จะไปสอบผอ.โรงเรียนในรอบถัดไป ความหวังเริ่มริบหรี่ ก.ค.ศ. ออกเกณฑ์สกัดดาวรุ่ง ต้องเป็นรองผอ.ชำนาญการพิเศษ 2 ปี หรือตำแหน่งอื่นที่ก.ค.ศ. เทียบเท่า 08 ต.ค. 2567ก.ค.ศ. ออกหนังสือแจ้ง ว 19/2567 มาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 08 ต.ค. 2567ด่วนที่สุด! ที่ ศธ 04277/ว 1057 เรื่อง กำชับแนวทางปฏิบัติในการพานักเรียนไปนอกสถานศึกษา 08 ต.ค. 2567(8 ต.ค.2567) เปิดรายชื่อ 74 เขตพื้นที่ฯ ยังไม่ประกาศผลการพิจารณาย้ายครู ประจำปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 ต้องประกาศภายใน 23.59 น. ของวันที่ 15 ต.ค.67 08 ต.ค. 2567สพม.นครสวรรค์ เผยแพร่ข้อมูลการเรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชี ปี 2566 และ บัญชี ปี 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2567 08 ต.ค. 2567สำนักงาน ป.ป.ท. รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่ง นักวิชาการป้องกันการทุจริตในภาครัฐ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 68,350 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-16 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567โรงเรียนวัดประชานาถ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 7 - 11 ตุลาคม 2567 07 ต.ค. 2567โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 14 - 18 ตุลาคม 2567

รายงานผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR

usericon

เรื่อง        รายงานผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริม
ทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย        นางสาวบัวสร วุฒิศักดิ์ชัยกุล
ปีการศึกษา    2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ( R&D ) 4 ขั้น ดังนี้

    ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR
    ขั้นสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรม เป็นการสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรม และเครื่องมือประกอบ การใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR ได้แก่ 1.แผนการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย 2. สื่อผสม ประกอบด้วย เพลงประกอบภาพเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย คำคล้องจอง เกม และหนังสือนิทานประกอบภาพ 3. แบบประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย 4.แบบสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย โดยการวิเคราะห์เอกสาร ผลงานวิจัย และประเมินคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ ที่เป็นนักวิชาการทางการศึกษา จำนวน 2 ท่าน นักการศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 2 ท่าน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 ท่าน และครูปฐมวัย จำนวน 2 ท่าน รวมทั้งหมด 7 ท่าน

    ขั้นที่ 2. ขั้นปรับปรุงคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR
    ขั้นปรับปรุงคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research ) ผู้วิจัยนำรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR ที่ปรับปรุงแล้ว ไปทดลองใช้กับกลุ่มที่คล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 ห้องเรียน คือ เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหัวหมอน จำนวน 20 คน เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนวัดกุฎีเตี้ย จำนวน 12 คน รวมจำนวน 32 คน ทดลองห้องเรียนละ 1 หน่วยการเรียน โดยแบ่งเป็น 2 วงจร ดังนี้
    วงจรที่ 1 จัดกิจกรรมตามรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR กับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 โรงเรียนบ้านหัวหมอน เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 จำนวน 20 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก 1 หน่วยการเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรมในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ สังเกตและประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย
    วงจรที่ 2 นำผลการปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR จากการทดลองใช้ระยะที่ 1 มาเป็นแนวทางในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 2 โรงเรียนวัดกุฎีเตี้ย เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 จำนวน 12 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR กับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 1 หน่วยการเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรมในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ สังเกตและประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย
    การศึกษานำร่อง ( Pilot study ) ผู้วิจัยดำเนินการอธิบายให้ครูปฐมวัย ที่เป็นโรงเรียนนำร่อง เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยทดลองจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR จำนวน 1 หน่วยการเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรมในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ พร้อมกับสังเกตและประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยประเมินการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย หลังการทดลอง ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย ผู้วิจัยนำผลที่ได้จากการประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย และผลจากการสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย มาใช้ปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR ให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำไปทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมต่อไป

ขั้นที่ 3 ขั้นทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR
ขั้นทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เป็นการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย กับกลุ่มทดลอง คือ โรงเรียนบ้านดอนกลาง ( กิดารีศึกษาคาร ) เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 9 คน หญิง 9 คน รวม 18 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ส่วนกลุ่มควบคุม คือ โรงเรียนบ้านหัวหมอน เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 10 คน หญิง 10 คน รวม 20 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก โดยการวิจัยเชิงทดลอง แบบ Nonrandomized Control Group Pretest –Possttes Design ( เกียรติสุดา ศรีสุข. 2548 : 23 ) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ รวม 36 วัน วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยสถิติ t-test for dependent และสถิติ one – way ANOVA
    ขั้นที่ 4 ขั้นขยายผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR
    ขั้นขยายผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR จุดประสงค์ในการขยายผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ดำเนินการโดย นำรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ทดลองใช้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1. ครูปฐมวัยที่เป็นครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 2 จาก 6 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ประกอบด้วย โรงเรียนขนาดใหญ่ 2 โรงเรียน ได้แก่ 1.โรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 18 คน หญิง 11 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 2.โรงเรียนอนุบาลตรัง จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 16 คน หญิง 14 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง โรงเรียนขนาดกลาง 2 โรงเรียน ได้แก่ 1. โรงเรียนภูห่านศึกษา จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 9 คน หญิง 8 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 2. โรงเรียนบ้านหนองแสลบ จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 17 คน หญิง 10 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 โรงเรียนขนาดเล็ก 2 โรงเรียน ได้แก่ 1. โรงเรียนวัดกุฎีเตี้ย จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 7 คน หญิง 5 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก 2. โรงเรียนอนุบาลเมืองนครนายก ( ศรีประชานุxxxล ) จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 5 คน หญิง 5 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก รวมครูปฐมวัย จำนวน 6 คน และเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 รวมจำนวน 125 คน เด็กอนุบาลที่ได้รับเลือกให้เป็นกลุ่มขยายผล รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR ในครั้งนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเด็กอนุบาลกลุ่มทดลอง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 หน่วยการเรียนรู้ ดำเนินการจัดกิจกรรมในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย
    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสม แบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ที่สร้างและพัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 4 ขั้น ดังนี้
1.ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ ( Stimulus ) เป็นกระบวนการที่ส่งเสริม สนับสนุนด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย โดยใช้กระบวนการ ออกมาเต้นเล่นแล้วฉลาด ผ่านการเคลื่อนไหวประกอบเพลง เกมและ คำคล้องจอง
2.ขั้นกระบวนการสอน ( Teaching ) เป็นกระบวนการใช้นวัตกรรม เพิ่มพลังการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมนิทานพาเพลิน และกิจกรรมช่วยกันคิดช่วยกันตอบ
3. ขั้นปฏิบัติงานเพื่อฝึกทักษะ ( Active learning ) เป็นกระบวนการให้เด็กลงมือปฏิบัติออกแบบชิ้นงาน แสดงความสามารถและทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการนำเสนองานร่วมกันทั้งครูและเด็ก ผ่านกิจกรรมภาษาพาสนุก กิจกรรมจินตนาการสร้างได้ และออกแบบชิ้นงานศิลปะสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมพาคิดชวนทำ
4. ขั้นตรวจสอบ ( Recheck ) เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประเมินความสามารถของเด็กปฐมวัยจากการร่วมกิจกรรมและนำเสนอผลงาน
2.ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสม แบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทาง
ภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า
2.1    คะแนนเฉลี่ยทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ไม่แตกต่างกัน
2.2    คะแนนเฉลี่ยทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ระหว่างกลุ่มทดลอง
และกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
2.3    คะแนนเฉลี่ยทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย กลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลอง ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
     2.4 ครูปฐมวัยที่ทดลองใช้ รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริม ทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR มีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด


    


    

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^